วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

ศาลยุติธรรม

  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๑๘ บัญญัติว่า “ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น” ดังนั้น ศาลยุติธรรมจึงเปรียบเสมือนเป็น “ศาลทั่วไป” ซึ่ง อาจารย์ไพโรจน์ วายุภาพ เห็นว่าเป็นศาลหลักของประเทศ ส่วนศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลทหารเปรียบเสมือนเป็น “ศาลเฉพาะ” กล่าวคือ คดีใดเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง หรือศาลทหาร บุคคลผู้ที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลก็จะต้องเสนอคดีต่อศาลนั้น และคดีนั้นย่อมมิใช่คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ส่วนคดีใดมิใช่คดีที่อยู่ในอำนาจของทั้งศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลทหาร ซึ่งเป็นศาลเฉพาะแล้ว คดีนั้นย่อมเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นศาลทั่วไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๖๙๖/๒๕๔๘ จำเลยทั้งสิบห้าเป็นคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๗๔ และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ บัญญัติให้มีขึ้น การดำเนินงานของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเป็นการใช้อำนาจในการบริหารงานบุคคล และเป็นการกระทำทางปกครองประเภทหนึ่ง ถ้าการดำเนินงานของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้มีสิทธิเสนอคดีย่อมนำคดีขึ้นสู่การวินิจฉัยของศาลได้ แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคสอง (๒) บัญญัติว่า การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๗๑ บัญญัติว่า “ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น” ดังนั้น คดีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษากล่าวอ้างว่าการดำเนินงานของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมที่เกี่ยวกับการไม่รับสมัครสอบโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงอยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม

การศึกษาเรื่องระบบศาลนี้ทำให้เข้าใจได้ว่า ประเทศไทยใช้ระบบศาลคู่ โดยมีศาลอยู่ด้วยกัน ๔ ระบบ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร ซึ่งศาลทั้งสี่ระบบของประเทศไทย ล้วนแต่เป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการเหมือนกัน ความแตกต่างอยู่ตรงที่แต่ละศาลมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีคนละประเภทกัน ดังนั้น การเสนอคดีต่อศาล บุคคลผู้ที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลจะต้องพิจารณาก่อนว่า คดีของตนนั้นเป็นคดีประเภทใดและอยู่ในอำนาจของศาลระบบใด เพราะหากเสนอคดีไม่ถูกต้องตามระบบศาล ศาลนั้นก็ย่อมที่จะไม่สามารถพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
       แหล่งที่มา:http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1582

ศาลทหาร

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๒๘ วรรคหนึ่ง กำหนดให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารและคดีอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๖ แบ่งศาลทหารออกเป็น ๓ ชั้น คือ ศาลทหารชั้นต้น ศาลทหารกลาง และศาลทหารสูงสุด
สำหรับศาลทหารชั้นต้น พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๗ แบ่งออกเป็นศาลจังหวัดทหาร ศาลมณฑลทหาร ศาลทหารกรุงเทพ และศาลประจำหน่วยทหาร
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๓ ให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาวางบทลงโทษผู้กระทำผิดต่อกฎหมายทหารหรือกฎหมายอื่นในทางอาญา ในคดีซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิด และมีอำนาจสั่งลงโทษบุคคลใด ๆ ที่กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
แต่คดีต่อไปนี้ ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๔
๑) คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน
๒) คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
๓) คดีที่ต้องดำเนินในศาลเยาวชนและครอบครัว
๔) คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ต้องดำเนินคดีในศาลพลเรือนตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๕ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๗๙๖/๒๕๔๑)
บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๖ กำหนดไว้ ดังนี้
๑) นายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ
๒) นายทหารชั้นสัญญาบัตรนอกประจำการ เฉพาะเมื่อกระทำผิดต่อคำสั่งหรือข้อบังคับตามกฎหมายอาญาทหาร
๓) นายทหารประทวนและพลทหารกองประจำการ หรือประจำการ หรือบุคคลที่รับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
๔) นักเรียนทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
๕) ทหารกองเกินที่ถูกเข้ากองประจำการ ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้รับตัวไว้เพื่อให้เข้ารับราชการประจำการอยู่ในหน่วยทหาร
๖) พลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหาร เมื่อกระทำผิดในหน้าที่ราชการทหารหรือกระทำผิดอย่างอื่นเฉพาะในหรือบริเวณอาคาร ที่ตั้งหน่วยทหาร ที่พักร้อน พักแรม เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะใด ๆ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ทหาร
๗) บุคคลที่ต้องขัง หรืออยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย
๘) เชลยศึก หรือชนชาติศัตรูซึ่งอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารนอกจากนี้ ยังมีศาลทหารในกรณีไม่ปกติ เรียกว่า “ศาลอาญาศึก” ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อมีการรบ การสงคราม หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก และเมื่อหน่วยทหารหรือเรือรบอยู่ในยุทธบริเวณ (ซึ่งกำหนดโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) ตั้งอยู่กับหน่วยทหารหรือเรือรบในยุทธบริเวณทั้งภายในและภายนอกประเทศ มีเขตอำนาจเฉพาะหน่วยทหารที่อยู่ในยุทธบริเวณมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวง ซึ่งจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดเกิดขึ้นในเขตอำนาจนั้น โดยไม่จำกัดตัวบุคคลและอัตราโทษ เมื่อศาลอาญาศึกพิพากษาแล้วไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาใด ๆ ทั้งสิ้น
แหล่งที่มา:http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1582

ศาลปกครอง



  แต่เดิมนั้น ระบบศาลของประเทศไทยเป็นระบบศาลเดี่ยว ศาลยุติธรรมเป็นองค์กรตุลาการที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่าง ๆ รวมทั้งคดีปกครอง ภายหลังเมื่อประเทศไทยได้ปฏิรูปการเมืองโดยการตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ ขึ้น รัฐธรรมนูญ[จึงได้กำหนดให้มีการจัดตั้งศาลปกครองแยกต่างหากจากศาลอื่น ๆ ในลักษณะศาลคู่ ส่งผลให้มีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ทำให้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๔ โดยเริ่มจัดตั้งศาลปกครองกลางและศาลปกครองสูงสุดขึ้นพร้อมกันในวันดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่าเป็นการที่ประเทศไทยเริ่มต้นใช้ระบบศาลคู่และมีหลักกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครองของศาลอย่างเป็นรูปธรรมโดยผลของพระราชบัญญัติดังกล่าว
          


ปัจจุบัน ศาลปกครองมีอยู่ด้วยกัน ๒ ชั้น ได้แก่ ศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้น แต่ในอนาคตอาจจะมีศาลปกครองชั้นอุทธรณ์ด้วยก็ได้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้กำหนดอำนาจของศาลปกครองไว้ใน มาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยบัญญัติว่า “ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย หรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ รวมทั้งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเรื่องที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง
อำนาจศาลปกครองตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึงการวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นการใช้อำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญขององค์กรตามรัฐธรรมนูญนั้น”
จากถ้อยคำตอนท้ายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง ที่ว่า “ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” นั้น อำนาจของศาลปกครองมีเป็นประการใดจึงพิจารณาได้จากบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นสำคัญ ซึ่งมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง ได้แยกประเภทคดีปกครองออกเป็น ๖ ประเภท ดังนี้
๑) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำฝ่ายเดียวของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใด เนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ
คดีที่มีการฟ้องต่อศาลปกครองนั้นอาจเป็นการฟ้องในเรื่องคำสั่งต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “คำสั่งทางปกครอง” หรืออาจเป็นกรณีที่กฎหรือการกระทำอื่นใดของทางราชการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
๒) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
๓) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
๔) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
๕) คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับบุคคลให้กระทำการหรือละเว้นกระทำการ
๖) คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง
ส่วนคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กำหนดไว้ใน มาตรา ๙ วรรคสอง (๑) (๒) และ (๓) ซึ่งการบัญญัติไว้ดังกล่าว มีความมุ่งหมายที่จะกำหนดข้อยกเว้นเฉพาะคดีที่มีลักษณะเป็นคดีปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง ซึ่งเข้าข่ายเป็นการดำเนินการตามมาตรา ๙ วรรคสอง (๑) (๒) หรือเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลตาม (๓) ไม่ให้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองจึงอาจสรุปได้ดังนี้
๑) การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร (มาตรา ๙ วรรคสอง (๑))
๒) การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ (มาตรา ๙ วรรคสอง (๒))
๓) คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลชำนัญพิเศษ (มาตรา ๙ วรรคสอง (๓))
๔) คดีที่มีกฎหมายตัดอำนาจศาลปกครองไว้โดยเฉพาะ
แหล่งที่มา:http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1582

ศาลรัฐธรรมนูญ


ศาลรัฐธรรมนูญ หมายถึง องค์กรสูงสุดที่มีอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดว่า บทกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือการกระทำใดๆ ทั้งของรัฐและของบุคคล ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่รวมทั้ง อำนาจการวินิจฉัยชี้ขาดว่า ร่างรัฐพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างข้อบังคับการประชุมสภา มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นทั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และเป็นทั้งศาลที่จะต้องพิจารณาพิพากษาคดีหรือดำเนินการต่างๆ ตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์

ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีกสิบสี่คนรวมเป็นสิบห้าคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากบุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ตำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวนห้าคน ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดจำนวนสองคน ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์จำนวนห้าคน และผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์จำนวนสามคน ทั้งหมดได้มาจากการเลือกตั้งโดยวิธีลงคะแนนลับในที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด และคณะกรรมการสรรหาทำการเลือกและเสนอรายชื่อต่อวุฒิสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่งตามวาระเก้าปี และให้ดำรงตำแหน่งเพียงวาระเดียว องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการนั่งพิจารณาและในการทำคำวินิจฉัยต้องประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่าเก้าคน คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ถือเสียงข้างมากและให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลและองค์กรอื่นของรัฐ

 อำนาจหน้าที่และความสำคัญของศาลรัฐธรรมนูญตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญสามารถสรุปเป็นข้อๆ ได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า มติหรือข้อบังคับใดของพรรคการเมืองขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือขัดต่อสถานะและการปฎิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าขัด มติหรือข้อบังคับนั้น เป็นอันยกเลิกไป (ตามมาตรา 47)
ข้อ 2. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำ หรือสั่งยุบพรรคการเมือง ที่มีการกระทำอันเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ตามมาตรา 63)
ข้อ 3. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า สมาชิกสภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาต้องสิ้นสุดลง เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 118 หรือมาตรา 133 หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าสิ้นสุด ก็จะมีผลนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย (ตามมาตรา 96 และมาตรา 97)

ข้อ 4. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาต้องสิ้นสุดลงเมื่อได้กระทำการอันต้องห้าม ตามมาตรา 110หรือ มาตาร 111 กล่าวคือ ดำรงตำแหน่งในหน่วยราชการหรือหน่วยงานของรัฐ รับสัปทานจากรัฐรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ จากหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานของรัฐ หรือใช้สถานะหรือตำแหน่งเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงการบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้ายข้าราชการประจำ หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่า สิ้นสุด ก็จะมีผลนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย (ตามมาตรา 96 และ มาตรา 97)
ข้อ 5. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยว่า มติของพรรคการเมืองใดที่ให้ขับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัด พ้นจากสมาชิกภาพของพรรค มีลักษณะตามมาตรา 47 วรรคสาม คือ ขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือขัดต่อสถานะการปฎิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยวขัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ถูกขับสามารถหาพรรคใหม่สังกัดภายในสามสิบวัน โดยไม่สิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย (ตามมาตรา 118(8) )
ข้อ 6. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบ สามารถหาพรรคใหม่สังกัดได้ภายในสามสิบวัน โดยไม่สิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ตามมาตรา 118(9) )
ข้อ 7. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า กรรมการการเลือกตั้งผู้ใด ที่ถูกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภา ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 139 หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าพ้น ก็จะมีผลนับแต่วันที่ศาลรัฐัรรมนูญมีคำวินิจฉัย (ตามมาตรา 142)
ข้อ 8. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า ความเป็นประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา ต้องสิ้นสุดลง เนื่องจากขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 152 วรรคสาม (4) เมื่อ ต้องคำพิพากษาให้จำคุก หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าสิ้นสุด ก็จะมีผลนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย
ข้อ 9. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ มีหลักการเดียวกันกับร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมี่วุฒิสภามีมติยับยั้งไว้ หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่ามีหลักการเดียวกันจะเสนอร่างนั้นเข้ามาใหม่ไม่ได้ (ตามมาตรา 177)
ข้อ 10. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยว่า การกระทำใดของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการ มีส่วนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยออ้ม ในการใช้งบประมาณรายจ่าย หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าลักษณะดังกล่าวก็ให้การกระทำดังกล่าวสิ้นผลไป (ตามมาตรา 180 วรรคหกและวรรคเจ็ด)
ข้อ 11. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยกรณีที่ผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาเห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ หรือการกระทำใดของบุคคล มีปัญหาเกี่ยวกับความเห็นชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือไม่ (ตามมาตรา 198)
ข้อ 12. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีต้องสิ้นสุดลงเนื่องจากขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 216 (4) เมื่อต้องคำพิพากษาให้จำคุก หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าสิ้นสุด ก็จะมีผลนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย
ข้อ 13. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยว่า พระราชกำหนดใดเป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงและเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเหลี่ยงได้ ตามมาตรา 218 วรรคหนึ่ง หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าไม่เป็น ให้พระราชกำหนดนั้นไม่มีผลบังคับมาแต่ต้น (ตามมาตรา 219)
ข้อ 14. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยว่า ความเป็นประธานศาลรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องสิ้นสุดลง เนื่องจากขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 260 (7) เมื่อต้องคำพิพากษาให้จำคุก หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าสิ้นสุด ก็จะมีผลนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ข้อ 15. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติใดที่สภาให้ความเห็นชอบแล้ว มีข้อความขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรั ฐธรรมนูญนี้ หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าขัดหรือไม่ถูกต้อง และข้อความดังกล่าวเป็นสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ ให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นตกไปทั้งบับ แต่ถ้าไม่ใช่สาระสำคัญ ก็ตกไปเฉพาะข้อความที่ขัดหรือแย้งนั้น (ตามมาตรา 262)
ข้อ 16. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยว่า ร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือการประชุมวุฒิสภา และการประชุมรัฐสภาที่สภาให้ความเห็นชอบแล้ว ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกติ้งตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าขัด ก็เป็นอันใช้บังคับมิได้(ตามมาตรา 263)
ข้อ 17. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีใดต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 คือ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าขัด บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นก็เป็นอันใช้บังคับมิได้ (ตามมาตรา 264 )
ข้อ 18. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัย กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาขหน้าที่ขององค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญว่าเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรใด ตามที่องค์กรนั้นหรือประธานรัฐสภาเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ (ตามมาตรา 266 )
ข้อ 19. คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ให้เป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ (ตามมาตรา 266 )
ข้อ 20. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจชี้ขาดว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใดจงใจไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินด้วยข้อความเป็นเท็จ หรือจงใจปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติหรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยชี้ขาดว่า จงใจ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่งและห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลาห้าปี (ตามมาตรา 295 )
ข้อ 21. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า ความเป็นประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต้องสิ้นสุดลงเนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 298 วรรคสาม เมื่อ ต้องคำพิพากษาให้จำคุก หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่า สิ้นสุด ก็จะมีผลนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย



 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ


แหล่งที่มา:http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D

ระบบศาลของไทย

การปกครองประเทศในรัฐเสรีประชาธิปไตยทั้งหลายนั้น ล้วนได้รับอิทธิพลทางความคิดจาก “หลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตย” กล่าวคือ อำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ฝ่าย คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจในการออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เรียกว่า “กฎหมาย” เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของประชาชนในรัฐ
อำนาจบริหาร คือ อำนาจหน้าที่ในการบริหารปกครองประเทศโดยนำเอากฎหมายต่าง ๆ ที่บัญญัติขึ้นโดยองค์กรนิติบัญญัติไปบังคับใช้กับประชาชน
อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการตรวจสอบว่า กฎหมายต่าง ๆ ได้รับการเคารพและปฏิบัติตามหรือมีการละเมิดกฎหมายเหล่านั้นหรือไม่
       ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และรับหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตยมาใช้อย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๓ วรรคแรก บัญญัติว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้” อาจกล่าวได้ว่า องค์กรหลักที่เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของไทยทั้งสามฝ่ายนั้น ได้แก่ รัฐสภาเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร และศาลเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการ
       อย่างไรก็ตาม นอกจากองค์กรหลักที่เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของไทยทั้งสามฝ่ายดังกล่าวแล้ว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ยังได้กำหนดขึ้นไว้ในหมวด ๑๑ ให้มีองค์กรอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมิได้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรหลักทั้งสามนั้น เรียกว่า “องค์กรตามรัฐธรรมนูญ” โดยแบ่งออกเป็น “องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ” ๔ องค์กร และ “องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ” อีก ๓ องค์กร รวมเป็น “องค์กรตามรัฐธรรมนูญ” ทั้งสิ้น ๗ องค์กร
องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๑๑ ประกอบด้วย
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ๔ องค์กร ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ๓ องค์กร ได้แก่ องค์กรอัยการ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ดังนั้น ในปัจจุบัน องค์กรหลักของประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่
๑) รัฐสภา
๒) คณะรัฐมนตรี
๓) ศาล
๔) องค์กรตามรัฐธรรมนูญ





 “ศาล” จึงเป็นหนึ่งในองค์กรหลักที่สำคัญในการปกครองประเทศ ซึ่งเป็นผู้ใช้ “อำนาจตุลาการ” โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๑๐ ว่าด้วย ศาล กำหนดให้มีศาลทั้งสิ้น ๔ ระบบ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร
       
 การจำแนกรูปแบบของระบบศาลในต่างประเทศนั้น อาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ระบบ คือ ระบบ “ศาลเดี่ยว” และระบบ “ศาลคู่”
ระบบศาลเดี่ยว เป็นระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง หรือคดีประเภทอื่น ๆ ระบบนี้เป็นระบบที่ใช้กันมากที่สุด ประเทศที่ใช้ระบบนี้ ได้แก่ กลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law) เช่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา
ระบบศาลคู่ เป็นระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทเฉพาะคดีแพ่งและคดีอาญาเท่านั้น ส่วนคดีปกครองแยกให้ศาลปกครองเป็นศาลที่มีอำนาจในการวินิจฉัยคดีดังกล่าว ข้อพิจารณาของระบบศาลคู่ คือ การแยกระบบของผู้พิพากษาและการแยกองค์กรศาลปกครองออกจากระบบศาลยุติธรรม ประเทศที่ใช้ระบบศาลคู่ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) เช่น ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแบ่งระบบศาลออกเป็น ๔ ระบบ เช่นนี้แสดงว่า ระบบศาลของประเทศไทยเป็นระบบศาลคู่ แยกเป็นอิสระจากกัน มีผู้พิพากษาหรือตุลาการของแต่ละศาลโดยเฉพาะ จะย้ายจากศาลหนึ่งไปดำรงตำแหน่งในอีกศาลหนึ่งไม่ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้แต่ละคดีได้รับการวินิจฉัยโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่มีความรู้ความเข้าใจกฎหมายและลักษณะคดีแต่ละประเภทเหล่านั้นเป็นผู้ชี้ขาดตัดสิน ด้วยวิธีพิจารณาที่เหมาะสม นอกจากนี้ ปัญหาใดอันเป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ ย่อมไม่อาจวินิจฉัยโดยศาลธรรมดาได้ ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัยศาลทั้งสี่ระบบย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการ โดยมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีแต่ละประเภทแตกต่างกันไป ตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนด ซึ่งต่อไปจะได้กล่าวถึงศาลในแต่ละระบบโดยเน้นไปที่อำนาจหน้าที่

ประเภทของศาลในประเทศไทย
        ๑. ศาลรัฐธรรมนูญ (Constitutional Court)
        ๒. ศาลปกครอง (Administrative Courts)
        ๓. ศาลทหาร (Military Courts)
        ๔. ศาลยุติธรรม (Courts of Justice)
แหล่งที่มา:http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1582

รัฐธรรมนูญ 2550 (แบบย่อ)


สรุปกฎหมายรัฐธรรมนูญ 2550
** รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เป็นฉบับที่ 18 ใช้บังคับเมื่อ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 มี 309 มาตรา
**ผู้รับสนองพระบรมราชโองการคือ นาย มีชัย ฤชุพันธุ์ (ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)
**อำนาจอธิไตรเป็นของ ปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุกทรงใช่อำนาจนั้นผ่านทาง รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และ ศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
**องคมนตรีมี ประธาน 1 คน และ องคมนตรีอีก 18 คน
**ผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ประธานองคมนตรี คือ ประธานรัฐสภา
**ผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง องคมนตรี คือ ประธานองคมนตรี
**บุคคลเสมอภาคกันใน กฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายหญิงเท่าเทียมกัน
** บุคคลมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธการจำกำเสรีภาพนั้นจะกระทำไม่ได้เว้นแต่
อาศัยอำนาจตามกฎหมายเฉพาะการชุมนุมสาธารณะและคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ทางสาธารณะหรือรักษาความสงบของประเทศในระหว่างสงครามหรือสถานการฉุกเฉินหรือประกาศกฎอัยการศึก
**บุคคล มีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยรัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
**บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
***รัฐสภาประกอบด้วย
1.สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท
1.1แบบแบ่งเขต 400 คน
1.2แบบสัดส่วน 80 คน
**รวม 480 คน (อายุ25ปี) มีวาระ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง

2 . วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท
2.1 สรรหา 74 คนื -1
2.2 เลือกตั้ง 76 คน +1
**รวม 150 คน (อายุ40ปี) มีวาระ 6 ปีนับแต่เลือกตั้งหรือได้รับการสรรหาแล้วแต่กรณี
**ประธาน สภาผู้แทนราษฎร เป็น ประธานรัฐสภา
**ประธาน วุฒิสภา เป็น รองประธานรัฐสภา
**สมัยประชุมสามัญของรัฐสภามีกำหนด 120 วัน
**อายุสภาหมดตามวาระ ให้กำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันเดียวกันทั่วประเทศในระยะเวลา ไม่เกิน45 วัน

**การยุบสภาจะต้องทำเป็นพระราชกฤษฎีกาและให้กำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันเดียวกันทั่วประเทศ
ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 45 วันแต่ไม่เกิน 60 วัน
** การขอเปิดอภิปราย นายก ต้องมีสมาชิกสภาไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
** การขอเปิดอภิปราย รัฐมนตรี ต้องมีสมาชิกสภาไม่น้อยกว่า 1ใน 6
**ประชาชนไม่น้อยกว่า 10000 มีสทธิเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายแเกี่ยวกับ สทธิเสรีภาพ และ แนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ ต่อสภา ได้
**ประชาชนไม่น้อยกว่า 20000 มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้
**ประชาชนไม่น้อยกว่า 50000 มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อรัฐสภาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ
**คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี 1 คน และ คณะรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 35 คนรวมทั้งสิ้น 36 คน และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี
** คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วย ประธาน 1 คนและกรรมการ 4 คน รวม 5 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี วาระเดียว (อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี) ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
**ผู้ตรวจการแผ่นดิน ประกอบ ด้วย ประธาน1คน และ กรรมการ2คน รวม 3 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี วาระเดียว ประธานวุฒิสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
**คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประกอบด้วย ประธาน1คน และ กรรมการอีก 8 คน รวม 9 คน มีวาระการดำรงตำแห่นง 9 ปี วาระเดียว ประธานวุฒิสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
** คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบด้วย ประธาน 1 คน และ กรรมการอีก 6 คน รวม 7 คน มีว่าระในการดำรงตำแหน่ง 7 ปี วาระเดียว ประธานวุฒิสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
**ศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย ประธาน 1 คน และ ตุลาการอื่นอีก 8 คน รวม 9 คน
มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 9 ปี วาระเดียว ประธานวุฒิสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ดังต่อไปนี้
1 .ผู้พิพากษาศาลฎีกา 3 คน
2. ตุลาการศาลปกครองสูงสุด 2 คน
3. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ 2 คน
4. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ 2 คน
*** รวม 9 คน
แหล่งที่มา:http://www.testthai1.com/read.php?tid=436

24 มิถุนายน 2475 อภิวัฒน์สยาม

<iframe width="420" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/-gzLE0J--GM" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

จุดเด่น-จุดด้อยของรธนปี40


ก่อนที่จะมีการให้ประชาชนออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ใน วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เพื่อเป็นการนำเสนอข้อมูลอีกด้านหนึ่งของร่างรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 ที่ได้จากการรวบรวมความคิดเห็นของนักวิชาการ สื่อมวลชน นักการเมือง รวมทั้งของผู้เขียนเองมาเรียบเรียง โดยนำ จุดเด่นและจุดด้อยของร่างรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 เปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ไว้ดังนี้

จุดเด่น

1. ร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ประชาชนชาวไทยมีโอกาสร่วมกันทำประชามติ ( Referendum) เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศ ย่อมดีกว่าการนำร่างรัฐธรรมนูญ ไปผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาที่แม้ว่าจะมาจากการเลือกตั้ง

2. ร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบบกึ่งรัฐสภาไปเป็นระบบรัฐสภาตามปกติ ทำให้รัฐสภามีความเข้มแข็งขึ้น จากเดิมที่รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองไทยจากระบบรัฐสภาไปเป็นระบบกึ่งรัฐสภาสมัยใหม่ โดยให้ฝ่ายบริหารมีความเข้มแข็งคล้ายกับระบบการปกครองกึ่งประธานาธิบดี

3. ร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และในส่วนของรัฐมนตรีจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ก็ได้ และ แม้ว่าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแต่เดิมก็ไม่ต้องพ้นไปจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีเหมือนรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ซึ่งจะทำให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเห็นความสำคัญของกระบวนการทางรัฐสภา เช่น การตั้งกระทู้ถาม การที่คณะกรรมาธิการสภาจะมีอำนาจเรียกบุคคลมาให้ข้อมูลและชี้แจงต่อฝ่ายสภา ฯลฯ

4. ร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรีของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิสมัครเป็นผู้แทนราษฎรได้ย่อมทำให้ร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 นี้มีความเป็นประชาธิปไตยในระดับที่สูงมากกว่ารัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ที่กำหนดให้ประชาชนเพียงบางส่วน (เฉพาะที่สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีเท่านั้น) มีสิทธิสมัครเป็นผู้แทนราษฎร

5. สิทธิเสรีภาพและกระบวนการคุ้มครอง รวมทั้งการบังคับให้เกิดสิทธิเสรีภาพ ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 มีข้อดีมากกว่ารัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ในหลายประการ เช่น สิทธิในการให้ชุมชนฟ้องหน่วยงานของรัฐได้ การให้ประชาชนมีสิทธิฟ้องศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรงเป็นครั้งแรกในกรณีมีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรรมนูญ การให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ถ้าเป็นเด็ก เยาวชน สตรี คนพิการให้ได้รับการคุ้มครองในการดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม

6. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 มีรายละเอียดเป็นจำนวนมากถือว่าเป็นข้อดีมากกว่ารัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 เพราะว่าเป็นการกำหนดเป็นบทบัญญัติให้รัฐบาลต้องระบุให้ชัดเจนในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาว่าจะดำเนินการใด เวลาใด เพื่อประชาชนบ้าง

7. ระบบตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและองค์กรอิสระตามร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 มีความเข้มข้นของการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐมากว่ารัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ซึ่งรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยที่ได้กำหนดให้มีการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และจัดตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญให้เป็นระบบกึ่งการเมืองและกึ่งศาล เช่น การให้ฝ่ายการเมืองมีบทบาทร่วมในการสรรหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และมิได้มีข้อกำหนดในเรื่องของวิธีการพิจารณาความต่าง ๆ เอาไว้ ในร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ได้คงหลักการของระบบการตรวจสอบอำนาจรัฐและองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญไว้ทั้งหมด โดยทำให้มีความเป็นศาลในระดับที่สูงมากขึ้น

8. การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน ตามร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 เพิ่มอำนาจทางการเมืองให้ประชาชนมากกว่าในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 โดยในร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550ได้ลดจำนวนการเข้าชื่อของประชาชนในการเสนอกฎหมายเหลือหนึ่งหมื่นคน และการถอดถอนนักการเมืองเหลือสองหมื่นคน การลงประชามติให้มีผลผูกพันการ ตัดสินใจของรัฐบาลด้วย และการให้ประชาชนห้า หมื่นคนสามารถขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้

9. การเพิ่มหมวดการเงิน การคลัง และงบประมาณ เป็นการตรวจสอบการ ใช้อำนาจรัฐด้านการเงิน ร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ได้กำหนดเงื่อนไขการ ใช้เงินของฝ่ายบริหารไว้อย่างชัดเจน ไม่ให้มีการใช้เงินนอกงบประมาณได้อีกต่อไป เพื่อควบคุมการใช้งบประมาณของฝ่ายบริหารจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาและต้องบอกให้ประชาชนทราบที่มาของงบประมาณ รวมถึงภาระผูกพันในอนาคต ซึ่งในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ไม่มีหมวดนี้

10. การกำหนดให้มีหมวดจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและ เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นครั้งแรกในร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 โดยกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรม มีกลไกและระบบในการดำเนินงานเพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดขั้นตอนการ ลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำ หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดทางวินัย ซึ่งในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ไม่มีหมวดนี้

จุดด้อย

1. ที่มาของสภาร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 มาจากการเลือกตั้งทางอ้อมผ่าน รัฐสภา โดยมาจากตัวแทนในแต่ละจังหวัด 76 คน และจากผู้มีความรู้ด้านกฎหมายมหาชน ด้านรัฐศาสตร์ และผู้มีประสบการณ์ในการบริหารราชการแผ่นดินอีก 23 คน รวม 99 คน ในขณะที่สภาร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 จะมาจากสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ 2,000 คนที่มาจากการแต่งตั้งแล้วเลือกกันเองให้เหลือ 200 คน จากนั้นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จะเลือกให้เหลือ 100 คน

2. ที่มาของรัฐสภา รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งด้วยกันทั้ง 2 สภา ต่างกับร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ซึ่งกำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน แต่วุฒิสภามาจากระบบผสม คือ จากการเลือกตั้ง 76 คน และสรรหา 74 คน ทำให้มองเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 มีความเป็นประชาธิปไตยในระดับที่ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ซึ่งระบบผสมดังกล่าวเป็นระบบใหม่ ฉะนั้นในวันข้างหน้าจึงยังไม่มีความแน่นอนว่าระบบนี้จะอยู่ต่อเนื่องและยาวนานมากเท่าใด

3. เจตนารมณ์ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 มี เจตนารมณ์ที่จะปฏิรูปการเมืองของประเทศไทยให้ดีขึ้น สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้จึงนำหลักวิชาการ หลักกฎหมายมาใช้ในการร่างรัฐธรรมนูญอย่างบริสุทธิ์ใจ ส่วนในร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 มีเจตนารมณ์ในการยกร่างรัฐธรรมนูญที่แตกต่างไป มุ่งแต่ที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดจากนักการเมืองและรัฐบาลชุดที่ผ่านมาจนลืมหลักวิชาการ หลักกฎหมายจึงทำให้ขาดหลักการและเหตุผลในการอ้างอิงจนอาจทำให้เกิดปัญหาในอนาคตตามมา และที่สำคัญคือไม่ไว้วางใจในตัวแทนที่ประชาชนเลือกเข้ามาจึงพยายามกีดกัน ให้ออกไป แต่ดึงฝ่ายตุลาการเข้ามาแทน

4. วุฒิสภาที่มาจากการสรรหาของคณะกรรมการสรรหาวุฒิสภาตามร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 เมื่อ ให้มากลั่นกรองการทำหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนจะขัดแย้งกับหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาที่ให้ความสำคัญกับตัวแทนของประชาชน และหากให้ วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนนักการเมืองด้วยแล้วจะไม่ยุติธรรมกับประชาชนที่เลือกผู้แทนของตนเข้ามา แต่กลับถูกวุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนมาถอดถอนได้

5. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ที่ในร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 กำหนดรายละเอียดไว้มาก ทำให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งชุดต่อไปจะมีภารกิจและข้อผูกมัดว่าจะต้องทำอะไรมากมาย จึงทำให้มีความคล่องตัวในการทำงานน้อยกว่ารัฐบาลตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ซึ่งกำหนดให้รัฐบาลสามารถ เลือกที่จะกระทำหรือไม่ก็ได้

6. คณะกรรมการสรรหาบุคคลให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ได้ตัดตัวแทนของพรรคการเมืองที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ออกหมด ทำให้ขาดความเชื่อมโยงกับประชาชน แม้แต่นักวิชาการก็ไม่มี แต่กลายเป็นประธานศาลทั้งหลาย หรือประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเข้าไปทำหน้าที่สรรหากันเอง ทำให้แนวโน้มที่จะได้บุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระเป็นข้าราชการที่ใกล้เกษียณ โดยตัวแทนภาคประชาชน นักวิชาการไม่มีโอกาสเข้าไปดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญได้เลย

7. การนำเอาฝ่ายตุลาการมายุ่งเกี่ยวกับการเมืองตามร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 จะทำให้ระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ โดยอำนาจ 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการตามหลักการปกครองประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาจะเสียดุลและเอียงข้างฝ่ายตุลาการมากเกินไป โดยฝ่ายที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ กับฝ่ายบริหารถูกลดอำนาจลงไป เมื่อฝ่ายตุลาการมีอำนาจมากขึ้นก็น่าเป็นห่วงว่าอาจถูกการเมืองแทรกแซงและทำให้สูญเสียความน่าเชื่อ

http://library2.parliament.go.th/ebook/content-ebbas/cons_article2.html

ทวงคืนรัฐธรรมนูญปี40

<iframe width="420" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/8gvfcsNkYBQ" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

ความเหมือนและความต่างระหว่างปี 40 และ 50


หากเรามองดูทั้งสี่มาตราในรัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2540 เป็นตัวตั้งแล้วจะเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 นั้นได้ถอดแบบของปี 2540 มาทั้งหมด แต่มีการเพิ่มเติมและรายละเอียดเพื่อให้รัดกุมและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เนื่องจากได้รับบทเรียนจากรัฐธรรมนูญปี 2540 มาแล้วจึงพยายามคิดถ้อยคำให้ปิดช่องโหว่และลดการตีความเข้าข้างพรรคพวกของตนให้มากที่สุด การเปลี่ยนแปลงมีรายละเอียดดังนี้

มาตรา 37 ในปี 40 และ 36 ในร่างปี 50 ไม่มีอะไรแตกต่างกันแม้แต่นิดเดียว ยังคงรักษาสิทธิการสื่อสารระหว่างบุคคลของ คนธรรมดาไว้อย่างเหนียวแน่น หากทำได้แปรว่าไม่มีใครสามารถมาล่วงรู้ข้อมูลที่เราทำการสื่อสารกับคนอื่นๆ ได้เลย ยกเว้นแต่การกระทำภายใต้กฎหมายที่จะรักษาความมั่นคงของประเทศ หรือศีลธรรมที่ดีของประชาชน ดังนั้นหากเราเป็นผู้ก่อการร้ายหรือคาดว่าเราจะเป็นผู้ทำให้ประเทศชาติล่มสลาย หรือหากเราเป็นผู้เผยแพร่ภาพลามกอนาจารทำให้คนในประเทศสารขัณฑ์ของเราตกอยู่ภายใต้กิเลสตัณหาราคะโงหัวไม่ขึ้น เจ้าหน้าที่ของรัฐจึงจะมีสิทธิตรวจสอบเนื้อหา (เช่นเช็คอีเมล์ ดักฟังโทรศัพท์ ฯลฯ) ที่เราติดต่อสื่อสารกับคนอื่นได้

มาตรา 39 ในปี 40 และ 45 ในร่างปี 50 มีสิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาหนึ่งวรรค และถูกตัดออกไปหนึ่งประโยค สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือการป้องกันการแทรกแซง หรือห้ามการแสดงความคิดเห็น และการเสนอข่าวของสื่อมวลชนไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ ก็ตาม แต่ก็มีข้อยกเว้นนั่นก็คือหากพิจารณาแล้วเห็นว่าความคิดเห็นดังกล่าวจะเป็นอันตรายต่อความมั่นคง สุขภาพที่ดี สิทธิส่วนบุคคลของบุคคลอื่นซึ่งก็ไม่ต่างจากปี 40 ที่มีข้อจำกัดเช่นนี้เหมือนกัน ส่วนสิ่งที่ตัดออกไปคือช่องทางที่จะให้คนต่างชาติเข้ามาเป็นเจ้าของกิจการสื่อมวลชนของประเทศไทยโดยสิ้นเชิง ดังนั้นเจ้าของกิจการสื่อมวลชนทุกแขนง ทุกแห่งในประเทศไทยจะต้องมีเจ้าของเป็นคนไทยเท่านั้น โดยไม่มีกฎหมายใดๆ มาให้คนต่างชาติมาเป็นเจ้าของสื่อมวลชนได้

มาตรา 40 ในปี 40 และ 47 ในร่างปี 50 มีสิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามามากเป็นพิเศษ สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาคือจากเดิมในปี 40 ไม่ได้ระบุจำนวนองค์กรในการจัดสรรคลื่นความถี่ทำให้มีกฎหมายลูกกำหนดให้มีสององค์กรคือ กสช. และ กทช. ที่ไม่ประสบความสำเร็จในการจัดตั้งทั้งสององค์กร (กรุณาย้อนไปดูในเอ็นทรี่ที่แล้วครับ) แต่จากการเพิ่มคำว่า หนึ่ง เข้ามาในวรรคที่ 2 และปรับแก้ถ้อยคำบางส่วนทำให้ร่างในปี 50 กำหนดให้มีองค์กรเพียงองค์กรเดียวที่เป็นผู้กำกับดูแล จัดสรรคลื่นความถี่ทั้งวิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม ดังนั้นกฎหมายเดิมที่กำหนดให้จัดตั้งทั้งสององค์กร (กสช. และ กทช.) ก็มีอันต้องยกเลิกไป

และสิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาอีกก็คือกำหนดให้ประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจการสื่อมวลชนสาธารณะด้วย และที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งคือกำหนดให้องค์กรที่จะจัดตั้งขึ้นเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่ต้องมีมาตรการป้องกันไม่ให้คนหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีกิจการสื่อมวลชนอยู่ในมือมากหรือหลากหลายสื่อ เช่น บริษัท ช. ประกอบกิจการโทรทัศน์อยู่ก็ไม่สามารถทำกิจการวิทยุ และหนังสือพิมพ์ควบคู่กันไปได้จะต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ถือเป็นมาตรการไม่ให้คนหรือกลุ่มคนสามารถครอบงำหรือกำหนดข่าวสารให้คนทั้งประเทศรับข้อมูลข่าวสารข้างเดียวได้

มาตรา 41 ในปี 40 และ 46 ในร่างปี 50 มีสิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามามากเช่นกัน สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาคือการพยายามทำให้เกิดองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกิดเสรีภาพในการเสนอข่าวสาร และมีการสร้างกลไกควบคุม ตรวจสอบกันเองภายในสื่อมวลชนแขนงต่างๆ มากขึ้น รวมทั้งมีการเพิ่มกลไกป้องกันไม่ให้ผู้มีอำนาจเช่นนักการเมือง ผู้บังคับบัญชาทั้งในสื่อมวลชนทั้งของรัฐ และสื่อมวลชนที่เป็นเอกชนมาแทรกแซง หรือห้ามการนำเสนอข่าวสารและความคิดเห็นของผู้ทำหน้าที่สื่อมวลชนอีกด้วย แต่การกระทำทุกอย่างจะต้องอยู่ภายใต้จรรยาบรรณ และจริยธรรมวิชาชีพของสื่อมวลชนเท่านั้น หากผู้มีอำนาจทั้งนักการเมืองแล้วก็ผู้บังคับบัญชาก็จะถือว่าเป็นความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

นอกจากนั้นในร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ยังมีการเพิ่มมาตรา 48 เข้ามาเพื่อตอกฝาโลงนักการเมืองไม่ให้เข้ามาข้องเกี่ยวกับการสื่อสารมวลชนโดยเด็ดขาดไม่ว่าด้วยวิธีการสลับซับซ้อนขนาดไหนก็ตามก็ไม่สามารถมีอิทธิพลหรือควบคุมสื่อมวลชนได้ ดังนั้นนักการเมืองไม่สามารถจะควบคุมการนำเสนอข่าวสารเพื่อเอื้อประโยชน์เสริมสร้างภาพลักษณ์ให้ตนเองได้อีก


4. ผลที่จะตามมา (หากร่างรัฐธรรมนูญฯ ปี 50 มีการบังคับใช้)

           จริงๆ แล้วการคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นค่อนข้างทำได้ยากมากครับ เพราะนักการเมืองบ้านเราสืบเชื้อสายมาจากศรีธนญชัย (ไม่ได้ว่าคุณชัยนะ) ทำให้กฎเกณฑ์ต่างๆ มักจะเปลี่ยนแปลงไปจากเจตนารมณ์ที่แท้จริงเมื่อแรกสร้างกฎเกณฑ์นั้นๆ หากจะมองกันจริงๆ แล้วในเรื่องของการสื่อสารในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับพุทธศักราช 2540 กับ ร่างรัฐธรรมนูญฯ ฉบับ 2550 แทบจะไม่ต่างกันโดยรวมแล้วแตกต่างกันตรงที่กำหนดให้มีองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่แค่องค์กรเดียวเท่านั้น ส่วนประเด็นอื่นๆ จะเป็นการ ล้อมคอก ให้มีความรัดกุมชัดเจนมากยิ่งขึ้นจากสาเหตุต่างๆ ที่ได้เขียนไปแล้วในข้อ 2 แต่ก็ยังปกป้องสิทธิการสื่อสารทั้งของปัจเจกบุคคล และสื่อมวลชนไว้ในระดับเดิมไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด

สิ่งที่น่าสังเกตได้อีกอย่างหนึ่งคือความพยายามที่จะให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการสื่อมวลชนสาธารณะเพื่อให้เป็นสื่อสาธารณะอย่างแท้จริง (?) แต่ทั้งหมดนี้ถือเป็นเพียง แนวคิด ในการจัดการกับการสื่อสารของประเทศเท่านั้น ผลในทางปฏิบัติยังไม่สามารถที่จะคาดเดาได้เด่นชัดเพราะยังจำเป็นที่จะต้องรอกฎหมายลูกที่จะตามออกมาหลังจากรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้

แต่ในระดับปัจเจกบุคคลอย่างเราๆ ท่านๆ ทั้งหลายที่เป็นคนธรรมดาจะได้รับผลประโยชน์โดยตรงในทันที เพราะหากเราถูกละเมิดในด้านการสื่อสารเช่นมีคนมาข่มขู่ห้ามพูดห้ามแสดงความคิดเห็น หรือแอบอ่านอีเมล์ ดักฟังโทรศัพท์ ไม่ว่าจะจากเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลธรรมดา เราสามารถใช้กฎหมายเหล่านี้ใช้ฟ้องร้องได้ทันที และอ้างอิงบทลงโทษจากกฎหมายอื่นๆ ได้ และนอกจากนั้นรัฐบาลจะไม่สามารถมาห้ามหรือกีดกันการสื่อสารของเราได้อีก

หากเป็นผลกระทบในระดับสื่อมวลชนจะยังไม่สามารถเห็นผลได้ชัดเจนในทันทีทันใด จำเป็นต้องใช้เวลาค่อนข้างยาวนาน (ถ้าไม่โดนฉีกรัฐธรรมนูญไปอีกรอบ) อาจมากกว่า 10 ปี เนื่องจากถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ทัศนคติ และค่านิยมของคนทั้งประเทศ และเกี่ยวพันกับผลประโยชน์มหาศาลนับแสนล้านบาททำให้การเปลี่ยนแปลงและดำเนินตามบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญทำได้ยากมาก แต่หากมีกระบวนการเร่งรัดโดยภาคประชาชนก็อาจทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของรัฐธรรมนูญได้เร็วขึ้น


5. บทสรุป


มีหลายๆ คนโดยเฉพาะผู้ที่เรียนหรือทำงานด้านการสื่อสารมวลชน มักจะพูดว่า เสรีภาพของสื่อ คือเสรีภาพของประชาชน ซึ่งก็น่าจะเป็นเช่นนั้น แต่จะเป็นอย่างนั้นได้ก็ต่อเมื่อตัวสื่อมวลชนเองต้องอยู่ภายใต้จรรยาบรรณ และจริยธรรมของวิชาชีพสื่อมวลชน รวมทั้งต้องเข้าสู่กลไกของการรับผิดชอบต่อสังคมเท่านั้น ซึ่งหนทางที่จะให้สื่อมวลชนเป็นอย่างนั้นได้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายรัฐ ตัวสื่อมวลชนเอง ภาคธุรกิจ และที่สำคัญที่สุดคือ ภาคประชาชนที่จะต้องคอยตรวจสอบและสนับสนุนสื่อที่อยู่ภายใต้ครรลองที่กล่าวมาข้างต้น ในขณะเดียวกันประชาชนก็จะต้องต่อต้าน ไม่สนับสนุนสื่อมวลชนที่ละเมิด หรือไม่ได้ทำตามกรอบของการเป็นสื่อมวลชนที่พึงกระทำ

ในรัฐธรรมนูญทั้งปี 2540 และ ร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ต่างก็มีแนวคิดไปในทางเดียวกันคือให้สิทธิการสื่อสารอย่างสูงสุดเท่าที่จะให้ได้แก่ประชาชน และปกป้องสื่อมวลชนจากการครอบงำของฝ่ายต่างๆ แนวทางนี้ถือเป็นเกราะป้องกันให้สื่อมวลชนและประชาชนร่วมกันเดินไปสู่อุดมคติข้างต้นคือ สื่อมวลชนต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง และประชาชนก็มีหน้าที่ต้องตรวจสอบสื่อมวลชนเพื่อผลประโยชน์ของตนเองเพราะหากสื่อมวลชนตกอยู่ภายใต้การครอบงำของฝ่ายการเมือง หรือฝ่ายธุรกิจ หรือสองฝ่ายผนึกกำลังกันเข้าครอบงำ แทรกแซง ครอบครองสื่อมวลชนอย่างที่ผ่านมา ประชาชนนั่นเองที่จะเป็นผู้เสียหายที่สุด เพราะข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อมวลชนจะมีเพียงด้านเดียวคือด้านที่เอื้อประโยชน์ทางด้านภาพลักษณ์ให้แก่ฝ่ายการเมืองและฝ่ายธุรกิจเท่านั้น ความคิดเห็น ทัศนคติ ค่านิยมของคนส่วนใหญ่ในสังคมก็จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันหากผู้ควบคุมเป็นผู้ที่มีจริยธรรมและศีลธรรมสูงส่งก็ถือเป็นโชคดี แต่หากผู้ที่มาควบคุมสื่อด้วยวิธีการต่างๆ หาประโยชน์เข้าตัวเองและพวกพ้องก็จะทำให้ประชาชนและประเทศชาติเสียหายอย่างใหญ่หลวง หากจะกล่าวง่ายๆ ก็คือบทบัญญัติทางด้านการสื่อสารที่นำเสนอมาทั้งหมดนี้เป็นการป้องกันการนำสื่อมวลชนไปใช้เพื่อการโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งผลกระทบที่จะตามมาจากการโฆษณาชวนเชื่อก็คือ การกลายเป็น สังคมมิติเดียว (One Dimension Society) ความน่ากลัวที่เกิดขึ้นและเป็นที่ประจักษ์ชัดมาแล้วนั่นก็คือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวของฮิตเลอร์ ที่ใช้สื่อมวลชนเป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อทำให้เกิดการฆาตรกรรมหมู่ที่โหดร้ายที่สุดครั้งหนึ่งของโลก
       สำหรับการตัดสินใจในร่างรัฐธรรมนูญ มีหลากหลายความคิดเห็นที่ผ่านเข้ามาทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่โดยส่วนตัวแล้วคิดว่า หากรัฐธรรมนูญให้สิทธิ และบทบาทภาคประชาชนมามีส่วนร่วมในการตัดสินใจบริหารประเทศมากเท่าไหร่ก็จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ดี เพราะประเทศไทยเองได้ถูกติดตรึงอยู่กับระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทนมาเป็นเวลานาน จนทำให้เกิดค่านิยมและทัศนคติที่ผิดกับนักการเมืองว่าเป็นเจ้านายควรยกย่องเทิดทูน แต่แท้จริงแล้วนักการเมืองก็คือผู้รับใช้ของประชาชน ไม่ใช่ให้ประชาชนมารับใช้ ที่มาของนักการเมืองจึงไม่ได้มีความสำคัญมากเท่ากับ สิทธิและบทบาทของประชาชนที่รัฐธรรมนูญให้ ที่คิดเช่นนี้เพราะจากประวัติศาสตร์การเมืองไทยนักการเมืองส่วนใหญ่ต่างก็มีฐานคิดเดิมๆ ด้วยวิธีการเดิมๆ เห็นว่าเป็นอาชีพหนึ่งที่ทำรายได้ให้กับตนเองและพวกพ้องมหาศาลเท่านั้น เมื่อเราไม่สามารถพึ่งนักการเมืองได้ แต่ในอนาคตอาจจะต้องใช้เวลาหลายสิบปี เราอาจจะพึ่งพานักการเมืองได้อาจจะเป็นสายเกินไป

ดังนั้นจุดสนใจของประชาชนและรัฐธรรมนูญควรจะเปลี่ยนจากการให้ความสำคัญกับจำนวนหรือที่มาของ ส.ส. ส.ว. มาเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจปัญหาสำคัญๆ ของประเทศ และประชาชนมีโอกาสแสดงความคิดเห็นและเปลี่ยนแปลงผู้บริหารประเทศที่ด้อยประสิทธิภาพให้ง่ายมากขึ้น การตรวจสอบจากภาคประชาชนก็จะเกิดขึ้น หรือที่เรียกว่าเป็น การเมืองภาคประชาชน ให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งน่าจะเหมาะกับสภาพของสังคมไทยที่มีนักสู้อยู่จำนวนมากเห็นได้จากม็อบหลายๆ ม็อบ และเป็นคานอำนาจที่ดีที่สุด ซึ่งกระบวนการที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่จะต้องทำก็คือการให้การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการเมืองและประชาธิปไตยให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัย อายุ สถานะทางสังคม ความรู้ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องหาวิธีทางทำกันต่อไป
           กล่าวโดยสรุป เท่าที่เห็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีแทบทุกอย่างที่ได้กล่าวมา แต่ก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่หลากหลายเช่นกัน โดยเฉพาะการนำไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติซึ่งจะทำได้ยาก แต่หากเรามีหลักยึดที่ดีแล้วการเปลี่ยนแปลงก็จะเริ่มขึ้นถึงแม้ทีละน้อยทีละน้อยใช้เวลานาน แต่ก็ถือว่าได้เริ่มแล้ว แต่ก็ไม่น่าแปลกหากจะเกิดการรัฐประหารอีกครั้งในระยะเวลาไม่เกิน 20 ปี เพราะคนไทยเป็นคนใจร้อนและความอดทนต่ำ นอกจากนั้นก็ยังเป็นคนที่เลี่ยงบาลีเก่ง
แหล่งที่มา:http://sloppythinking.exteen.com/20070816/entry

รัฐธรรมนูญปี 2540 ความสำคัญและความเป็นมา

การเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 ปี พ.ศ.2540 ที่เรียกขานกันว่า รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน นั้น ก็เพื่อต้องการที่จะปฏิรูปการเมือง เพราะในขณะที่ใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 15 นั้น การเมืองมีปัญหาใหญ่ๆ อยู่ 2-3 ประการด้วยกัน คือ
1.การเมืองมีลักษณะเป็นการเมืองของนักการเมือง พลเมืองเจ้าของประเทศซึ่งเป็นผู้เลือกตั้งผู้แทนราษฎรมีสิทธิเสรีภาพน้อยและไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมืองเลย การเมืองของนักการเมืองหรือที่เรียกขานกันว่าระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน (REPRESENTATIVE DEMOCRACY) ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาต่างๆ มากมาย เช่น การบิดเบือนนโยบายที่ทำจริงไปจากนโยบายการหาเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น
2.การเมืองไม่ได้รับความเชื่อถือโดยทั่วไปทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะความไม่สุจริตของระบบการเมืองจึงทำให้ฝ่ายการเมืองขาดความชอบธรรมในการใช้อำนาจ และเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิวัติรัฐประหารในเวลาต่อมา ความไม่สุจริตในระบบการเมืองเป็นที่ทราบกันทั่วไป โดยเริ่มตั้งแต่การซื้อเสียงในการเลือกตั้งเพื่อให้ได้รับการเลือกตั้ง การถอนทุนโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ประกอบกับระบบตรวจสอบและการควบคุมการใช้อำนาจไม่ดีพอทำให้เกิดการทุจริตได้ง่าย และไม่สามารถปราบปรามการทุจริตให้หมดสิ้นไปได้
3.เป็นการเมืองที่รัฐสภาและรัฐบาลขาดเสถียรภาพและความต่อเนื่อง นายกรัฐมนตรีขาดสภาวะผู้นำทั้งรัฐบาลและรัฐสภาขาดประสิทธิภาพในการบริหารงานแก้ปัญหาบ้านเมือง เนื่องจากเกิดจากการเป็นรัฐบาลผสมกันหลายพรรค ทั้งนี้ เพราะรัฐธรรมนูญไม่มีกลไกในการสร้างพรรคการเมืองให้เข้มแข็ง การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลและรัฐสภาบ่อยครั้งก่อให้เกิดเรื่องความมั่นใจและความเชื่อถือในความต่อเนื่องของนโยบายอย่างมากสำหรับชาวต่างประเทศและนักธุรกิจ
ด้วยสาเหตุดังกล่าวมาแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 จึงเกิดขึ้นโดยมีเจตนาหลักเพื่อแก้ปัญหาของระบบการเมืองไทย 3 ประการด้วยกัน คือ
1.เปลี่ยนการเมืองของนักการเมืองเป็นการเมืองของพลเมือง โดยเพิ่มสิทธิเสรีภาพให้พลเมือง และปรับประชาธิปไตยเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของพลเมือง (PARTICIPARTORY DEMOCRACY)
2.ทำให้ระบบการเมือง และระบบราชการมีความสุจริตและมีความชอบธรรมในการใช้อำนาจโดยเพิ่มอำนาจเมืองในการควบคุมการใช้อำนาจในทุกระดับครอบคลุมทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพ
3.ทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ นายกรัฐมนตรีมีภาวะความเป็นผู้นำเพื่อแก้ปัญหาบ้านเมืองได้อย่างแท้จริงและรัฐสภามีประสิทธิภาพ
ในด้านการทำให้การเมืองเป็นของพลเมืองในรัฐธรรมนูญได้ขยายและเพิ่มสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค ตลอดจนการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่กำหนดไว้ใน หมวดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ซึ่งมีถึง 53 มาตรา เพิ่มขึ้นจากรัฐธรรมนูญฉบับที่ 15 ปี 2534 ที่มีอยู่เพียง 30 มาตรา โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมทางการเมืองยังมีปรากฏอยู่ในหมวดอื่นๆ อีกหลายต่อหลายมาตราด้วยกันอย่างไม่เคยปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับใดมาก่อน
ในด้านการทำให้ระบบการเมืองมีความสุจริตและความชอบธรรมในการใช้อำนาจและการเพิ่มอำนาจพลเมืองในการควบคุมการใช้อำนาจในทุกระดับทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดไว้ในหมวดต่างๆ ที่แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆ
เช่น การกำหนดให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของประชาชน การกำหนดให้มีการเลือกตั้งสองแบบ คือ แบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการนับคะแนน การกำหนดให้มีองค์กรอิสระคือคณะกรรมการการเลือกตั้งมาจัดและดำเนินการเลือกตั้ง ตลอดจนการกำหนดให้มีการจัดสรรงบประมาณให้กับพรรคการเมือง รวมทั้งการให้มีการเข้าชื่อถอดถอนนักการเมืองที่ทุจริตและร่ำรวยผิดปกติเหล่านี้ เป็นต้น
ในด้านสร้างความมีเสถียรภาพให้กับผู้นำและความมีประสิทธิภาพให้กับรัฐสภารัฐธรรมนูญก็กำหนดให้มีมาตรการที่จะทำให้เสถียรภาพ เช่น การกำหนดให้มี ส.ส.ในระบบรายชื่อจำนวน 100 คน โดยพรรคการเมืองที่มีผู้เลือกไม่ถึงห้าเปอร์เซ็นต์ก็จะไม่ได้ ส.ส.ในส่วนนี้ ซึ่งเป็นการจำกัดให้มีพรรคการเมืองจำนวนน้อยลง การจัดตั้งรัฐบาลถ้าเป็นรัฐบาลผสมก็มีจำนวนพรรคน้อยลงการต่อรองผลประโยชน์น้อยลงก่อผลให้เกิดเสถียรภาพกับรัฐบาล กำหนดให้การยื่นอภิปรายรัฐบาลได้ยากขึ้น
การแยกฝ่ายนิติบัญญัติออกจากฝ่ายบริหารอย่างชัดเจน เหล่านี้เป็นต้น
สภาปัญหาปัจจุบัน
การใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ส่งผลให้มีผลดังเจตนารมณ์ดังนี้ คือ
1.ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองเพิ่มขึ้น จะเห็นได้จากมีการรวบรวมรายชื่อยื่นถอดถอนผู้มีตำแหน่งทางการเมือง การขอจดทะเบียนตั้งพรรคการเมืองจำนวนมาก การตื่นตัวในการใช้สิทธิเสรีภาพที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ตลอดจนมีประชาชนไปทำหน้าที่ในการใช้สิทธิในการลงคะแนนเลือกตั้งเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น
2.จากการเลือกตั้งทั่วไปปี 2544 มีพรรคการเมืองได้รับเลือกตั้งเข้ามาเพียงแค่ 5 พรรคเท่านั้น คือ พรรคไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ ชาติไทย ความหวังใหม่ ชาติพัฒนา และพรรคเสรีธรรม
ต่อมาสามพรรคหลังก็ทำการยุบพรรคไปรวมกับพรรคไทยรักไทย ซึ่งได้จำนวนสมาชิกผู้แทนราษฎรเกือบครึ่งของจำนวน ส.ส.ทั้งหมด 500 คน ทำให้มีการตั้งรัฐบาลผสมแค่ 2 พรรค คือ พรรคไทยรักไทยกับพรรคชาติไทย โดยมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้านอยู่เพียงพรรคเดียวทำให้เกิดความมีเสถียรภาพกับรัฐบาลและรัฐสภาอย่างไม่เคยมีมาก่อน
กล่าวคือ ทำให้รัฐบาลอยู่ครบวาระตามรัฐธรรมนูญกำหนด คือ 4 ปีเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย นับแต่ปี พ.ศ. 2475 ที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นต้นมา
จนกระทั่งการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ.2548 คือเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ปรากฏว่าพรรคไทยรักไทย ได้จำนวน ส.ส.ถึงจำนวน 377 คน จาก 500 คน จัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวบริหารประเทศอย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นมาหลายองค์กร เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นต้น องค์กรเหล่านี้มีหน้าที่ทำให้การเมืองมีความสุจริตมีความชอบธรรมอันจะก่อให้เกิดความเชื่อมั่นและเกิดการยอมรับของสังคมโลกทั่วไป
สิ่งดังกล่าวมาแล้วจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเป็นผลผลิตโดยตรงของรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนปี 2540 ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดและดีที่สุดฉบับหนึ่งของโลกและของไทยเท่าที่เคยมีมา
ผลตรงข้ามกับสิ่งที่กล่าวมาแล้วจากการใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่ไม่เป็นไปตามเจตนาของรัฐธรรมนูญซึ่งอาจจะเกิดขึ้นโดยตัวบุคคลหรือจากเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญก็ตามพอจะสรุปได้ดังนี้ คือ
1.ปัญหาเรื่องการทุจริตเพื่อให้ได้รับการเลือกตั้งยังมีอยู่และทวีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้เงินซื้อกันตรงๆ หรือใช้อำนาจใช้อิทธิพล ตลอดจนการใช้บารมีบุญคุณทำกันทุกวิถีทางเพื่อให้ได้รับชัยชนะและทำกันทุกคนทุกพรรค ทั้งที่รัฐธรรมนูญได้ป้องกันไว้แล้ว เช่น กำหนดให้การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ที่จะต้องไปใช้สิทธิ การนับคะแนนรวมเขตเลือกตั้ง กำหนดให้มีองคืกรอสิระมาดูแลการเลือกตั้ง คือคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีสิทธิให้ใบเหลืองใบแดงแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่กระทำผิดกฎ กติกาของการเลือกตั้ง รวมทั้งการกำหนดแยกฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารออกจากกัน เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าเจตนาของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติกฎกติกาเหล่านี้ขึ้นมาส่วนหนึ่งก็เพื่อป้องกันการทุจริตในการเลือกตั้งซึ่งเป็นปัญหามาตลอดซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาอีกมากมาย โดยเฉพาะความไม่ชอบธรรมและการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารอันจะทำให้มีผลต่อความมีเสถียรภาพของรัฐบาลด้วย
2.ปัญหาเรื่องการตรวจสอบรัฐบาลตามกลไกของรัฐธรรมนูญไม่สามารถตรวจสอบรัฐบาลได้อย่างที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะฝ่ายค้าน ทั้งนี้ เนื่องมาจากจำนวนเสียงของฝ่ายค้านมีไม่พอเพียงตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี รวมทั้งการอภิปรายไม่ไว้วางใจเพื่อถอดถอนรัฐมนตรีกรณีรัฐมนตรีมีพฤติกรรมทุจริตและร่ำรวยผิดปกติ
รวมทั้งการตรวจสอบโดยภาคประชาชน การเข้าชื่อถอดถอนเป็นไปด้วยความยากลำบากจนเป็นเหตุทำให้รัฐบาลไม่สนใจเสียงส่วนน้อย หรือเสียงประชาชนที่มีความเห็นตรงข้าม จนทำให้เกิดข้อครหาว่ารัฐบาลไม่มีความโปร่งใสในการดำเนินงานในโครงการต่างๆ โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ (MEAGA PROJECT) งบประมาณนับแสนๆ ล้าน นอกจากนี้ยังทำให้รัฐบาลถูกกล่าวหาว่าเป็นเผด็จการทางรัฐสภาอีกด้วย
3. องค์กรอิสระบางองค์กรถูกแทรกแซงทำให้ไม่เป็นกลาง ทำให้ความเชื่อถือในองค์กรเสื่อมลง สุดท้ายทำให้ความชอบธรรมของการใช้อำนาจขาดความชอบธรรมไปด้วย ซึ่งก็มีผลถึงเสถียรภาพของรัฐบาลตามมา เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ซึ่งมีหน้าที่จัดการเลือกตั้งให้มีความสุจริตและเที่ยงธรรม หรือ ป.ป.ช. ซึ่งมีหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริต คอร์รัปชั่น เป็นต้น นอกจากนี้พรรคการเมืองทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลยังเข้าไปแทรกแซงการทำงานของสมาชิกวุฒิสภา ทำให้การทำงานของวุฒิสภาขาดความเป็นกลางไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
4.พรรคการเมืองบางพรรคที่ขอจดทะเบียนกับนายทะเบียนพรรคการเมืองไม่ปฏิบัติหน้าที่อันพึงมีของพรรคการเมือง เช่น เผยแพร่การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องการเมืองการปกครอง การหาผู้สนับสนุนทางการเมือง หรือที่สำคัญสุดคือการส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งในกรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไปหรือเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศ ประการหลังนี้นับได้ว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแบบถอยหลังลงทะเลตามมาอย่างเจ็บแสบที่สุดของคนมีอุดมการณ์ที่มั่นคงกับระบอบประชาธิปไตยมาจนถึงทุกวันนี้ ไม่นับความเสียหายที่มีต่อประเทศชาติอีกมากมายมหาศาล สมควรจดจำไว้เพราะเป็นบทเรียนอันประมาณค่าไม่ได้
5.นักการเมือง โดยเฉพาะนักการเมืองที่ทำหน้าที่ฝ่ายบริหารขาดคุณธรรมและจริยธรรมส่อแนวโน้มว่ามีการทุจริต คอร์รัปชั่นเอื้อประโยชน์ต่อพรรคพวก พี่น้องและคนใกล้ชิด ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่และประเทศชาติขาดผลประโยชน์และโอกาสที่ควรจะได้ การกระจายรายได้ไปสู่ประชาชน ยังไม่เป็นไปตามที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 83 รัฐต้องดำเนินการให้มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม
รายได้ส่วนใหญ่ของรัฐยังตกอยู่กับนักธุรกิจไม่กี่ตระกูลเข้าทำนอง รวยกระจุก จนกระจาย อยู่ ที่เป็นทำนองนี้ส่วนหนึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า นักการเมืองโดยเฉพาะฝ่ายบริหารดังกล่าวมาแล้ว ขาดคุณธรรมและจริยธรรมที่พึงมีสำหรับผู้บริหาร ทั้งที่รัฐธรรมนูญก็ได้กำหนดไว้ชัดเจน ในมาตรา 77 ...รัฐต้องจัดทำมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง...เพื่อป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ... แต่ไม่ได้รับการปฏิบัติตาม
การขาดคุณธรรมและจริยธรรม เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้รัฐบาลนี้ถูกยึดอำนาจในที่สุด
บทสรุป
จากที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดจะเห็นว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นรัฐธรรมนูญที่มีเนื้อหาสาระที่ดีและเป็นประชาธิปไตยดีที่สุดอยู่แล้ว มีบทบัญญัติที่กำหนดไว้ที่สมบูรณ์ทั้งสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และการมีส่วนร่วมของปวงชน
จากปัญหาที่เกิดจนถึงขั้นมีการใช้อำนาจยกเลิกรัฐธรรมนูญนั้นมาจากตัวบุคคลและคณะบุคคลมากกว่าอื่นใด ที่พยายามตีความบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้รับใช้กลุ่มของตัวเอง มากกว่าการรับใช้ปวงชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง จึงทำให้มองว่ารัฐธรรมนูญมีปัญหา
การใช้อำนาจที่มียกเลิกรัฐธรรมนูญนั้นเป็นสิทธิที่ทำได้ตามอำนาจที่มี การยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดอันใด สำคัญอยู่ที่ว่ารัฐธรรมนูญที่ร่างกันขึ้นมาใหม่นั้นมีเจตนาเพื่อรับใช้หมู่คณะของตนเอง หรือปวงชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริงเท่านั้น
และมีวิธีที่เป็นสากลอย่างไรที่จะได้คนดีเข้ามาใช้รัฐธรรมนูญ

เอารัฐธรรมนูญ40คืนมา

<iframe width="560" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/Q55MV3-6tHI" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

รัฐธรรมนูญปี40

รัฐธรรมนูญปีพุทธศักราช2540
แนวคิด    
                1. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
                2. อำนาจอธิปไตยแบ่งออกเป็น 3 อำนาจ  คืออำนาจนิติบัญญัติ  อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ 
                ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ซึ่งในรัฐธรรมนูญจะกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการปกครองประเทศไว้ เช่น การดำรงตำแหน่งฐานะประมุขของรัฐ การกำหนดหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ การกำหนดสิทธิหน้าที่ของประชาชน กลไกการบริหารประเทศ
                รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เรียกว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกาศใช้เมื่อวันที่  11  ตุลาคม 2540  มีสาระสำคัญดังนี้
             1. รูปแบบของรัฐ กำหนดว่าประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยวไม่อาจแบ่งแยกเป็นหลายๆ รัฐได้
             2. ระบอบการปกครอง
                ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข   การปกครองแบบประชาธิปไตย หมายความว่า อำนาจอธิปไตย หรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศมาจากปวงชนชาวไทย  พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตย ดังนี้
                1. อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจในการออกกฎหมาย พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา กล่าวคือ การตรากฎหมายออกมาใช้บังคับกับประชาชนต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน
                2. อำนาจบริหาร คือ อำนาจในการบริหารประเทศให้เป็นไปตามนโยบายและกฎหมายพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนี้ทางคณะมนตรี กล่าวคือ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 35 คน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน
                3. อำนาจตุลากร คือ อำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี หรือติดสินข้อพิพากษาหรือตัดสินลงโทษผู้กระทำความผิด พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจนี้   ทางศาล กล่าวคือ การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นหน้าที่ของศาลอันประกอบด้วยผู้พิพากษา ซึ่งมีอิสระในการใช้ดุลพินิจในการตัดสินคดี และเป็นการดำเนินการในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
3. รัฐสภา
                รัฐสภาประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร บางครั้งแยกกันประชุม แต่งบางครั้งประชุมร่วมกัน ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภาสมาชิกวุฒิสภามีจำนวน 200 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน โดยใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง โดยประชาชนทุกจังหวัดมีสิทธิเสมอกันในการออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในแต่ละจังหวัดได้เพียงหนึ่งคน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิส) จำนวน 100 คน และสมาชิกมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน โดยคำนวณจากจำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนที่มีการเลือกตั้งเฉลี่ยด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 400 คน ซึ่งจะได้เป็นเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคน และจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละจังหวัดให้นำจำนวนราษฎรที่คิดคำนวณข้างต้นมาเฉลี่ยจำนวนราษฎรในจังหวัดนั้น จังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคนให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้หนึ่งคน จังหวัดใดมีราษฎรเกินเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกผู้แทนราษฎรเพิ่มอีกคนทุกจำนวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกราษฎรหนึ่งคน  เมื่อได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครบทุกจังหวัดแล้ว แต่ยังไม่ถึง 400 คน จังหวัดใดที่มีเศษที่เหลือจากการคำนวณมากที่สุด ให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนและให้เพิ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามวิธีดังกล่าว แก่จังหวัดที่มีเศษที่เหลือจากการคำนวณในลำดับรองลงมาตามลำดับจนครบจำนวน 400 คน
                    3.1 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งวุฒิสมาชิก และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                            1) มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
                            2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง
                            3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
                    3.2 บุคคลที่ไม่มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                            1) วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนในสมประกอบ
                            2) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
                            3) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
                    3.3 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                            1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
                            2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
                            3) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า เว้นแต่เคยเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสมาชิก
                            4) เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน
                            5) ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง
                                    (1) มีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
                                    (2) เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในจังหวัดนั้น
                                    (3) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
                                    (4) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา
                                    (5) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี
                    3.4 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
                            1) มีสัญชาติไทย
                            2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
                            3) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
                            4) ผู้สมัครเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
                                    (1) มีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
                                    (2) เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในจังหวัดนั้น
                                    (3) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
                                    (4) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา
                                    (5) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี
                    3.5 บุคคลผู้ที่ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                                1) ติดยาเสพติดให้โทษ
                                2) เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นคดี
                                3) ต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป โดยพ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
                                4) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ
                                5) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติ
                                6) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งเงินเดือนประจำ นอกจากข้าราชาการเมือง
                                7) เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
                                8) เป็นสมาชิกวุฒิสภา
                                9) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
                                10) เป็นกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการสิทธิ-มนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกคอรง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจรติแห่งชาติ หรือกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
                                11) อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
                                12) เคยถูกวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง และยังไม่พ้นกำหนด 5 ปีนับตั้งแต่วันที่วุฒิสภามีมติจนถึงวันเลือกตั้ง
                        3.6 บุคคลที่ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
                                1) เป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมือง
                                2) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว ยังไม่เกิน 1 ปี นับถึงวันสมัครับเลือกตั้ง
                                3) เคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ในอายุของวุฒิสภาคราวก่อนการสมัครรับเลือกตั้ง
                                4) เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
4. สิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของชนชาวไทย
                4.1 สิทธิของประชาชนไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน ได้บัญญัติคุ้มครองสิทธิของชนชาวไทย ไว้ดังนี้
                        1) สิทธิที่จะได้รับความเสมอภาคตามกฎหมาย หมายความว่า ประชาชนชาวไทยทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชายย่อมมีสิทธิเสมอกัน ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายเท่าเทียมกัน
                        2) สิทธิทางการเมือง เช่น สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้ง และสิทธิในการออกเสียงประชามติ เป็นต้น
                        3) สิทธิในทรัพย์สิน และสิทธิในการมีมรดกย่อมได้รับความคุ้มครองขอบเขตแห่งสิทธิและการจำกัดสิทธิย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
                        4) สิทธิในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณหรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายจะกระทำมิได้ การจับกุม คุมขัง ตรวจค้นตัวบุคคล หรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลจะกระทำมิได้ เว้นแต่อาศัยตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
                        5) สิทธิส่วนบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียงหรือความเป็นอยู่ส่วนตัว ย่อมได้รับความคุ้มครอง การกล่าวหรือได้ข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชนอันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวจะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน
                        6) สิทธิในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
                        7) สิทธิในการอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลป วัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                        8) สิทธิในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่ต้องเสียใช้จ่าย ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
                        9) สิทธิในการได้รับความคุ้มครองจากรัฐ คือ เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวมีสิทธิได้รับความคุ้มครองโดยรัฐจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม
                        10) สิทธิในการมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
                        11) สิทธิในการรับทราบข้อมูลข่าสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ รวมทั้งมีสิทธิได้รับข้อมูลคำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานดังกล่าว ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยคุณภาพชีวิต
                        12) สิทธิในการเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ และได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันสมควรตามที่กฎหมายบัญญัติ
                        13) สิทธิในการฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์การอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคลให้รับผิดชอบเนื่องจากการกระทำหรือละเว้นการกระทำของข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานนั้น
                        14) สิทธิในการต่อต้านโดยสันติวิธี ซึงการกระทำใดๆที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งไม่เป็นไปตามวิธีทางที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ
                    4.2 เสรีภาพของประชาชนชาวไทย
                            1) เสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
                            2) เสรีภาพในเคหสถาน
                            3) เสรีภาพในการเดินทางและมีเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักร
                            4) เสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
                            5) เสรีภาพในการนับถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา
                            6) เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาและการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น
                            7) เสรีภาพในทางวิชาการ
                            8) เสรีภาพในการเสนอข่าวสารและแสดงความคิดเห็น ภายใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ
                            9) เสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร เป็นต้น
                            10) เสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง
                            11) เสรีภาพในการประกอบกิจกรรมหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
                    4.3 หน้าที่ของประชาชนชาวไทย
                            1) หน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
                            2) หน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
                            3) หน้าที่ป้องกันประเทศ
                            4) หน้าที่รับราชทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ
                            5) หน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
                            6) หน้าที่เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ
                            7) หน้าที่ช่วยเหลือราชการ
                            8) หน้าที่รับการศึกษาอบรมตามที่กฎหมายบัญญัติ
                            9) หน้าที่พิทักษ์ ปกป้องและสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
                            10)หน้าที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แหล่งที่มา:http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Law1/Law-constitution.htm