วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปรัชญาการดำเนินชีวิต





ปรัชญากรีกสมัยรุ่งเรือง
      ปรัชญากรีกสมัยเริ่มต้นมาสิ้นสุดที่เดมอคริตุส ปรัชญากรีกสมัยรุ่งเรือง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเอเธนส์ มีความเจริญก้าวหน้าถึงขีดสุด เพราะผลงานทางปรัชญาของโสคราตีส พลาโต้ และอาริสโตเติล นักปรัชญาสมัยต้นเป็นนักปรัชญาสายธรรมชาติ เพราะสนใจอยู่กับปัญหาของการเกิดของโลกหรือปฐมธาตุของโลก เป็นสิ่งที่ไกลตัวมนุษย์มาก

ปรัชญาเปรียบเทียบ
       ในทางตะวันออก ปรัชญาคือพฤติการณ์ตามหลักเหตุผลอันเกิดจากความตรัสรู้เป็นบรรทัดฐาน ในทางตะวันตก ปรัชญาคือพฤติการณ์ตามหลักเหตุผลอันเกิดจากความสงสัยหรือความแปลกใจ
มนุษยนิยมในปรัชญามาร์กซ์
        จากการที่ระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสม์
ในหลายประเทศได้ล่มสลายลงในช่วง พ.ศ. 2530 – 2540 ได้เกิดคำถามตามมาว่า ปรัชญามาร์กซ์ยังใช้ได้กับโลกปัจจุบันอยู่หรือไม่
 ทั้งนี้เพราะปรัชญามาร์กซ์เป็นระบบปรัชญาเดียวก็ว่าได้ที่ประกาศว่าภารกิจของปรัชญาคือ การเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น

ปรัชญาความงามของอริสโตเติล
          ในผลงานภาพเขียน The School of Athens, จิตรกรรมเฟรสโกโดย Raphael
 แสดงภาพของ Plato และ Aristotle ยืนเคียงข้างกัน สำหรับ Plato ชี้นิ้วขึ้นไปบนสวรรค์สู่โลกของแบบอุดมคติ
 ส่วน Aristotle ถูกนำเสนอด้วยการที่เขากำลังยื่นมืออกไปขนานกับผืนดิน งานจิตรกรรมชิ้นนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความหลงใหล
ของปัญญาชนสมัยเรอเนสซองค์ 

อริสโตเติ้ล
ปรัชญาเมธีตะวันตก
(Aristotle ก.ค.ศ. 384-322 จาก The Live of Philosophers โดย Diogenes Laertius)
ปรัชญาช่วยให้ปฎิบัติตนด้วยความพอใจ ในเรื่องที่คนอื่นเขาปฎิบัติกันเพราะกลัวกฎหมาย

ปรัชญาจากจีน
ผู้ที่ขาดคุณธรรม ย่อมไม่มีอุดมการณ์อันยิ่งใหญ่ ผู้ที่ขาดความรู้ ย่อมไม่มีสายตาอันกว้างไกล

คำคมจากขงเบ้ง
อำนาจที่ปราศจากเหตุผล คือ อำนาจของคนพาล อำนาจที่ปราศจากความเมตตา คือ อำนาจที่นำมาซึ่งความปราชัย

สุภาษิตจีน 
สุภาษิตจีน เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติจีน แต่สามารถนำมาผสมผสานกับสังคมไทยได้ ช่วยให้สภาพจิตใจดี หนักแน่น มั่นคง สามารถนำมาเป็นกำลังใจให้ชีวิต นำมาสร้างสรรค์ในการสนทนาและอาจทำให้เราเป็นจุดสนใจในกลุ่มได้ คำคมคายประโยคเดียว สามารถทำให้คนที่ได้ยินได้ฟัง ประทับใจและทำให้เกิดแสงสว่างได้ โดยที่เราอาจคิดไม่ถึง
แหล่งที่มา:http://www.baanjomyut.com/10000sword/

หลวงพ่อปัญญานันทภิขุ


1. ศัตรูที่น่าสะพรึงกลัวที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ตัวเราเอง
2. ความล้มเหลวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความอวดดี
3. การกระทำที่โง่เขลาที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การหลอกลวง
4. สิ่งที่แสนสาหัสที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความอิจฉาริษยา
5. ความผิดพลาดมหันต์ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การยอมแพ้ตัวเอง
6. สิ่งที่เป็นอกุศลที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การหลอกตัวเอง
7. สิ่งที่น่าสังเวชที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความถดถอยของตัวเอง
8. สิ่งที่น่าสรรเสริญที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความอุตสาหะ วิริยะ
9. ความล้มละลายที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ ความสิ้นหวัง
10. ทรัพย์สมบัติที่มีค่ามากที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ สุขภาพที่สมบูรณ์
11. หนี้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ หนี้บุญคุณ
12. ของขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การให้อภัยและความเมตตากรุณา
13. ข้อบกพร่องที่ใหญ่หลวงที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การมองโลกในแง่ร้ายและไร้เหตุผล
14. สิ่งที่ทำให้อิ่มอกอิ่มใจที่สุดในชีวิตเรา ก็คือ การให้ทา

แหล่งที่มา:http://www.baanmaha.com/community/thread45361.html

นักปรัชญาการเมืองแนวประชาธิปไตย


        สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทย ท่ามกลางความขัดแย้งของกลุ่มเสื้อสีต่าง ๆ ที่ออกมาชุมนุมประท้วง ซึ่งเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ทำให้เกิดความตึงเครียดและความมีเสถียรภาพทางการเมืองการปกครองของไทย ซึ่งตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่ระบุว่าประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ต่างคน ต่างกลุ่ม ต่างอ้างสิทธิเสรีภาพในการการชุมนุม การแสดงความคิดเห็น อย่างอิสระเสรี จนกลายเป็นปัญหาทางการเมืองในปัจจุบัน ที่ยากจะแก้ไขให้เกิดความสงบสุขในบ้านเมืองของเราได้
        เมื่อพูดถึงเรื่องประชาธิปไตยในประเทศไทยปัจจุบันแล้ว ล้วนมีแนวคิดของรูปแบบการปกครองอันมีที่มาจากแนวคิดของนักปรัชญาทางการเมืองของยุโรป ตั้งแต่ยุคภูมิธรรมและแนวคิดประชาธิปไตยสมัยคริสตศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา และมีการพัฒนา
แนวคิดทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองของหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย 
เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
        ในบรรดานักปรัชญาแนวคิดประชาธิปไตย ที่มีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก นั้นมีหลายท่านที่ได้นำเสนอแนวคิดต่าง ๆ ได้แก่

นักปรัชญาชาวอังกฤษ

        •โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes, ค.ศ.1588-1679) 


          ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Thomas_Hobbes_(portrait).jpg


        โธมัส ฮอบส์ เน้นว่าการปกครองที่ดีต้องมาจากประชาชนไม่ใช่อำนาจเทวสิทธิ์ เชื่อในการปกครองระบอบกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ว่าเป็นการปกครองที่ดีที่สุด หากมีกษัตริย์เป็นประมุขในการปกครองแล้วไม่จำเป็นต้องมีรัฐบาล
        • จอห์น ล๊อค (John Locke, ค.ศ.1632-1704) 

ที่มา :  http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/b/b8/John_Locke.jpg
        จอห็น ล๊อค ได้เขียนหนังสือทฤษฎีการเมืองเกี่ยวกับที่มาของอำนาจรัฐว่า อำนาจการเมืองต้องมาจากประชาชน ผู้เป็นเจ้าของอำนาจไม่ใช่กษัตริย์ ในหนังสือชื่อ สองนิพนธ์ว่าด้วยเรื่องการปกครอง (Two Treaties of Government 1690) ซึ่งแนวคิดการเมืองประชาธิปไตยของลอค คือ
        o อิสรภาพและเสรีภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ซึ่งเกิดมาด้วยความเท่าเทียมกัน
        
o รัฐบาลมาจากความยินยอมของประชาชน รัฐบาลจึงเป็นเพียงผู้คอยปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนและต้องมีอำนาจจำกัด
        o การที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจทางการเมือง ประชาชนจึงมีสิทธิล้มลางรัฐบาลได้เมื่อไม่ปฏิบัติตามความต้องการของประชาชน
        o จอห์น ลอค ได้รับการยกย่องว่า เป็นเจ้าทฤษฎีแห่งสิทธิเสรีภาพตามธรรมชาติ
กลุ่มนักคิดฟิโลซอฟ (Philosophs) ของฝรั่งเศส

        • บารอน เดอ มองเตสกิเออร์ (Baron de Montesquieu, ค.ศ.1689-1775) 

        มองเตสกิเออร์ เขียนหนังสือชื่อวิญญาณแห่งกฎหมาย (The Spirit of Law 1748) ซึ่งแสดงแนวคิดประชาธิปไตยว่า
        oระบอบกษัตริย์ไม่เหมาะสมสำหรับประเทศที่ประชาชนมีความตื่นตัวทางการเมือง แต่ควรมีรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
        oมีความเห็นสอดคล้องกับจอห์น ล๊อค โดยให้แนวคิด “ทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจ” โดยแบ่งอำนาจอธิปไตย ออกเป็น 3 ส่วน คือ นิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ
        oได้รับสมญานามว่า เจ้าทฤษฎีแห่งการแบ่งแยกอำนาจ 
         • วอลแตร์ (Voltaire, ค.ศ.1694-1778)  
        วอลแตร์ เป็นนักคิดนักเขียนที่สนับสนุนแนวคิดประชาธิปไตย โดยมีความเห็นว่า เสรีภาพและอิสรภาพเป็นของมนุษย์ รัฐบาลที่ดีต้องให้เสรีภาพและอิสรภาพแก่ประชาชน และต้องเป็นผู้รอบรู้ มีเหตุผลและปกครองด้วยหลักเหตุและผล ประชาชนสามารถใช้เสรีภาพและอิสรภาพในการแสดงความคิดเห็น วอลแตร์ ได้รับสมญานามว่า เจ้าทฤษฎีแห่งสื่อสารมวลชน

        • ชอง ชาคส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau, ค.ศ.1712-1778)  
        ชอง ชาคส์ รุสโซ เป็นเจ้าทฤษฎีแห่งอำนาจอธิปไตยของประชาชน ถือเป็นบิดาแห่งประชาธิปไตย เขียนหนังสือชื่อ Social Contract 1762 (สัญญาประชาคม)  โดยเน้นว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน” รัฐบาลที่ดีต้องมาจากประชาชน และรัฐบาลต้องสัญญากับประชาชนว่าจะดูแลให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มีสุข ถ้ารัฐบาลไม่ทำตามสัญญา ประชาชนมีสิทธิล้มล้างรัฐบาลได้
        จากแนวคิดของนักปรัชญาการเมืองแนวประชาธิปไตย สรุปได้ว่า
        
•แนวคิดของ จอห์น ล๊อค และ ชอง ชาคส์ รุสโซ มีแนวคิดประชาธิปไตยที่ตรงกันมากที่สุด คือรัฐบาลที่ดีต้องมาจากประชาชน
        •แนวคิดของ โทมัส ฮอบส์ มีความแตกต่างกับนักปรัชญาอื่น ๆ เนื่องจากให้การสนับสนุนการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไม่เชื่อเรื่องการปกครองที่มาจากประชาชน หรือรูปแบบรัฐบาล
        •เป็นแนวคิดแม่แบบพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยในตะวันตก เริ่มจากอังกฤษ อเมริกา และฝรั่งเศส ตามลำดับ 

แหล่งที่มา:http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2221

ปรัชญาการเมือง

ปรัชญาการเมือง ( Political Philosophy)
      ปรัชญาการเมือง คือสาขาของปรัชญาประยุกต์ที่ศึกษาถึงชีวิตทางสังคมหรือชีวิตทางการเมืองของมนุษย์ ปัญหาที่ปรัชญาการเมืองศึกษาจึงเป็นเรื่องของสังคม ( Society) และรัฐ ( The State ) ในแง่ของธรรมชาติ (Essence ) บ่อเกิด (Origin ) และคุณค่า ( Value ) ของรัฐและสังคม หรืออาจกล่าวได้ง่าย ๆ ว่า นักปรัชญาการเมืองเป็นกลุ่มของนักปรัชญาที่ต้องการเสนอความคิดเกี่ยวกับองค์กรที่เหมาะสมสำหรับมนุษย์ในการรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือสังคม นักปรัชญาการเมืองไม่ลืมที่จะกล่าวถึงเรื่อง ความยุติธรรม ( Justice ) และวิถีที่จะนำไปสู่ความยุติธรรมของสังคม การออกกฎและการเคารพกฎ ดังนั้น ถ้าจะกล่าวให้กระชับยิ่งขึ้น ก็คือ ในขอบข่ายของปรัชญาการเมืองนี้ นักปรัชญาพยายามเสนออุดมการณ์เกี่ยวกับสังคมและรัฐที่เขาคิดว่า ควร จะเป็นนั่นเอง ไม่ได้กล่าวถึงการเมืองการปกครองที่เป็นจริงที่ได้ปรากฏหรือกำลังปรากฏให้เห็นในประวัติศาสตร์การปกครองของประเทศต่าง ๆ จริง ๆ

นักปรัชญาการเมืองสมัยโบราณ
       หมายถึง ปรัชญาการเมืองของนักปรัชญากรีก โดยเฉพาะแนวความคิดของเพลโตและอริสโตเติล ซึ่งเชื่อในความจำเป็นและความเป็นธรรมชาติของรัฐ โดยเฉพาะอริสโตเติล ถือว่า มนุษย์คือสัตว์สังคมหรือสัตว์การเมือง หมายถึง ความจำเป็นที่มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันในสังคมโดยธรรมชาติ เพราะอริสโตเติลเห็นว่า รัฐเป็นส่วนที่สามารถอำนวยประโยชน์ให้มนุษย์ได้พัฒนารูปแบบของตน หรือพัฒนาลักษณะเฉพาะของตน นั่นคือ ความมีเหตุผลของมนุษย์ รัฐจึงสามารถทำให้มนุษย์มีคุณธรรมทางปัญญาได้ ส่วนเพลโตนั้นเชื่อในความดีของรัฐที่ปกครองโดยราชาปราชญ์ผู้ที่มีจิตภาคปัญญาเด่น และมีพวกจิตใจกล้าหาญเป็นทหาร และมีพวกลุ่มหลงในกิเลสเป็นคนงาน

นักปรัชญาการเมืองตะวันตกสมัยกลาง
         หมายถึง นักปรัชญาการเมืองสมัยยุโรปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของศาสนาคริสต์ ดังนั้น ความรู้สึกต่อรัฐของนักปรัชญาการเมืองตะวันตกสมัยกลางจึงเป็นไปในทางลบ และมองเห็นว่ารัฐเป็นความชั่วร้าย ศาสนจักรจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่ารัฐและควรเป็นฝ่ายควบคุมรัฐ ตัวอย่างของนักปรัชญาการเมืองสมัยกลาง คือ เซนต์ ออกัสติน อย่างไรก็ตาม หลังจากยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการของยุโรป ความคิดเรื่องปัจเจกบุคคลและสิทธิของบุคคลเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แนวโน้มทางความคิดดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปสู่ความคิดที่ว่า รัฐต้องเป็นสิ่งที่เป็นอิสระจากการควบคุมหรือพ้นจากอิทธิพลของอำนาจภายนอก เช่น ศาสนจักร ตัวอย่างเช่น ความคิดของมาเคียเวลลี่ เป็นต้น

นักปรัชญาการเมืองตะวันตกสมัยใหม่
        หมายถึงว่า นักปรัชญาการเมืองตะวันตกสมัยใหม่ มีแนวโน้มที่มองเห็นความจำเป็นของรัฐ ถึงแม้ว่ารัฐจะไม่ใช่สถาบันธรรมชาติของมนุษย์ แต่รัฐนั้นมีอำนาจจำกัดลง เพราะกำเนิดของรัฐเกิดจากข้อตกลงของราษฎร์ หรือปัจเจกบุคคลซึ่งเป็นอิสระตามสภาพธรรมชาติ หรือมีสิทธิบางอย่างโดยธรรมชาติ เมื่อตกลงกันโอนอำนาจตามธรรมชาติของตนให้คนเพียงคนเดียวหรือคนกลุ่มหนึ่ง เมื่อนั้นรัฐหรือสังคมจึงเกิดขึ้น แต่การตกลงของราษฎร์เกิดขึ้นเพราะราษฎร์เห็นประโยชน์จากการมีรัฐที่สามารถรักษาสิทธิ์ที่ตนมีโดยธรรมชาติดีกว่าไม่มีรัฐ นั่นคือ นักปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ยึดถือทฤษฎีสัญญาประชาคม ( Social Contract ) ดังนั้น ถ้ารัฐหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจไม่สนองตามความต้องการของราษฎร์หรือประชาชน ประชาชนมีสิทธิ์เรียกอำนาจคืนและโอนให้บุคคลอื่น ๆ ได้ ตัวอย่างของนักปรัชญาการเมืองตะวันตกสมัยใหม่ คือ โธมัส ฮอบส์, จอห์น ล๊อค และรุสโซ

นักปรัชญาการเมืองตะวันตกสมัยปัจจุบัน
         นักปรัชญาการเมืองตะวันตกสมัยปัจจุบันที่สำคัญ คือ เบ็นธัม ผู้ถือหลักประโยชน์นิยมว่าเป็นจุดหมายของจริยธรรมและสังคม กล่าวคือ ในแง่ของจริยธรรม ความประพฤติดี คือ ความประพฤติที่ก่อให้เกิดผล คือ ความสุขแก่คนหมู่มาก ดังนั้น จุดหมายของรัฐก็เช่นเดียวกัน ต้องก่อให้เกิดความสุขแก่คนส่วนใหญ่ กฎหมายต้องควบคุมให้เกิดผลประโยชน์ คือ ความสุขแก่คนส่วนใหญ่ ส่วนมิลล์ซึ่งเป็นนักประโยชน์นิยมอีกคนหนึ่งจะเน้นหนักในเรื่องเสรีภาพ ดังนั้น การกระทำที่ก่อให้เกิดผลกระทบเฉพาะผู้กระทำเท่านั้นย่อมเป็นการกระทำที่รัฐเข้าไปยุ่งเกี่ยวไม่ได้ เช่น การแสวงหาสัจจะ
ส่วนนักคิดสำคัญผู้มีอิทธิพลอย่างกว้างขวางของยุโรป คือ มาร์กซ์ ผู้มีความเห็นว่า รัฐเป็นสิ่งไม่จำเป็นสำหรับสังคมมนุษย์ เพราะรัฐกำเนิดขึ้นเนื่องจากโครงสร้างทางการผลิตที่เปิดโอกาสให้มีคนผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต และคนกลุ่มนี้สร้างอำนาจขึ้นมากดขี่ขูดรีด และรักษาสถานภาพของตนไว้ ดังนั้น ถ้าเป็นสังคมที่มีวิธีการผลิตแบบไม่มีใครเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ความแตกต่างทางชนชั้นก็หายไป รัฐก็พลอยหายไปด้วย

นักปรัชญาการเมืองกลุ่มอนาธิปไตย
            เป็นกลุ่มนักปรัชญาการเมืองที่มีทัศนะเชิงลบต่อรัฐโดยสิ้นเชิง พวกเขาชิงชังไม่ใช่แต่รัฐเท่านั้น แต่ชิงชังองค์กรหรือการจัดการทุกชนิดและทุกรูปแบบ เพราะสิ่งเหล่านี้ทำลายความสำคัญของปัจเจกบุคคลทั้งสิ้น ดังนั้น สังคมควรเกิดจากความร่วมมือที่เกิดจากความรู้สึกของเพื่อน เกิดจากความเข้าใจ ไม่ใช่เกิดจากการถูกบังคับ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามนุษย์ขจัดรัฐเสียได้ ความชั่วร้ายที่กำลังเกาะกินมนุษย์อยู่ทุกวันนี้ก็จะพลอยสลายไปด้วย ตัวอย่างของนักปรัชญากลุ่มนี้ คือ วิลเลี่ยม กอดวิน
แหล่งที่มา:http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=47.0

ความหมายปรัชญา

        คำว่า "ปรัชญา" เป็นศัพท์บัญญัติของพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (พระองค์วรรณ) เพื่อแปลคำว่า "Philosophy" "ปรัชญา"เป็นคำที่ดัดแปลงมาจากภาษาสันสกฤต ถ้าในภาษาบาลีใช้คำว่า "ปัญญา"ความหมายตามรูปศัพท์
     "ปรัชญา" แปลว่า ความรู้อันประเสริฐ ความรู้ที่ดีเลิศ ความรู้อันสูงสุด ความรู้รอบ ความรู้ทั่ว หรือความเปรื่องปราด  "Philosophy" มาจากภาษากรีกโบราณคือ "Philosophia" ("philos"+"sophia") "philos" แปลว่า ความรัก, ความชอบ,ความสนใจ,ศรัทธา หรือความเลื่อมใส "sophia" แปลว่า ความรู้, ความฉลาด,สติปัญญา, ความเป็นปราชญ์ หรือความเปรื่องปราด Philosophyแปลว่า ความรักความสนใจในความรู้ ความสนใจในความฉลาด หรือความชอบ ความใฝ่ใจในการแสวงหาความรู้ ความรักในการศึกษาเล่าเรียน อยากฉลาด อยากเป็นนักปราชญ์ อยากเป็นบัณฑิต

ความแตกต่างของ "ปรัชญา" กับ "Philosophy
      Philosophy หมายถึง ความขวนขวายพยายามหาหนทางที่จะพ้นไปจาก "อวิชชา" หรือความสงสัย หรือความโง่เขลา มีความกระตือรือร้นในการที่จะแสวงหาความรู้
ปรัชญา หมายถึง ความรู้ความฉลาดที่ได้รับภายหลังกำจัด "อวิชชา" หรือสิ้นสงสัย ได้ความรู้อันประเสริฐ หรือได้ตรัสรู้ "ที่สุดของ Philosophy ก็คือเบื้องต้นของปรัชญา"

ความหมายของ"ปรัชญา"ตามคำกล่าวของนักปราชญ์
-เสฐียร พันธรังสี กล่าวไว้ว่า "ปรัชญา ได้แก่หลักฐานแห่งความรู้ ,หลักวิทยาการหรือหลักประพฤติปฏิบัติ หรือหมายถึงความเชื่ออันใดอันหนึ่ง เป็นความรู้ความคิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเทพเจ้าใดๆ"
-หลวงวิจิตรวาทการ กล่าวไว้ว่า "ปรัชญา หมายถึงหลักความดีที่สามารถสอนกันเองได้ คิดค้นมาใหม่ได้ ซึ่งมีจดจารึกกันไว้เพื่อศึกษากันต่อมา ไม่เกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ใดๆ ไม่ได้มาจากเทพเจ้า หรือสวรรค์ชั้นใด"
-พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า "ปรัชญาเป็นวิชาว่าด้วยหลักความรู้และความจริง"
-เพลโต นักปรัชญากรีกผู้ยิ่งใหญ่ กล่าวไว้ว่า "ปรัชญาหมายถึงการศึกษาหาความรู้เรื่องสิ่งนิรันดรและธรรมชาติแท้จริงของสิ่งทั้งหลาย"
-อริสโตเดิล กล่าวไว้ว่า "ปรัชญาคือศาสตร์ที่สืบค้นถึงธรรมชาติของสิ่งที่มีอยู่โดยตัวเอง ตลอดจนคุณลักษณะตามธรรมชาติของสิ่งนั้น"
-กองต์ กล่าวไว้ว่า "ปรัชญาคือศาสตร์ของศาสตร์ทั้งหลาย (Science of Science)"
-วุนต์ กล่าวไว้ว่า "ปรัชญา คือการรวบรวมความรู้ที่ได้จากวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆมาไว้ในที่เดียวกัน"
ความหมายอื่นๆของ"ปรัชญา"

นักปรัชญาเมธีหลายคนได้ให้ความหมายของ "ปรัชญา" ไว้ต่างๆกัน

-บางท่านกล่าวว่า "ปรัชญา หมายถึงความรู้อันประเสริฐ (Genuine Knowledge)" ซึ่งหมายถึงความรู้อันแท้จริงแน่นอน ไม่ใช่ความรู้หลอกๆ และหมายถึงความรู้อันลึกซึ้งไม่ใช่ความรู้เพียงผิวเผินหรือความรู้ตื้นๆ เพราะความรู้ทางปรัชญาต้องคิดค้นเข้าไปจนถึงที่สุด จนพบความจริงขั้นสุดท้าย (Ultimate or Absolute Truth) ชนิดที่ไม่มีอะไรจริงยิ่งไปกว่า หรือได้พบสัจธรรมอันสูงสุด เช่น การพบกฎเหตุผลสากล หรือการพบว่า นิพพาน (Nirvana) เป็นสิ่งสูงสุดในพุทธศาสนา (Buddhism)
-บางท่านได้ให้ความหมายว่า "ปรัชญา คือความรู้สากลและจำเป็น (Universal and Necessary Knowledge)"
     "ความรู้สากล"หมายถึงความรู้ที่ใช้อธิบายทุกสิ่งทุกอย่างได้ เช่นกฎแห่งอนิจจัง หรือหลักไตรลักษณ์ในพุทธศาสนา ไตรวัฏ หรือปฏิจจสมุปบาทในพุทธศาสนา หรือแม้แต่กฎวิภาษวิธี (Dialectics) ซึ่งเริ่มจากการมีสภาวะพื้นฐาน แล้วเกิดความขัดแย้ง ต่อมาจึงสงเคราะห์กัน สำหรับคาร์ล มาร์กซ์มีความเห็นว่า ความขัดแย้งนำไปสู่ความเจริญ
     "ความรู้จำเป็น" หมายถึงความรู้ที่จำเป็นต้องรู้และจำเป็นสำหรับวิชาการทุกสาขาวิชา หมายความว่าสรรพวิชาการต้องมีปรัชญาเป็นหลักหรือเป็นแม่บทอยู่ หรือจะกล่าวว่า ปรัชญาเป็นศูนย์รวมสรรพวิชาการทั้งหลาย เช่น ปรัชญาการศึกษา ปรัชญาการเมือง ปรัชญาวิทยาศาสตร์ ปรัชญาสังคม ปรัชญาศาสนา ฯลฯ
     -บางท่านก็กล่าวไว้ว่า "ปรัชญา" หมายถึงหลัก (Principle) หรือหลักการและเหตุผล ซึ่งจะนำไปสู่จุดหมายที่ต้องการ
สรุปความหมายของปรัชญา

ปรัชญาโดยกว้างๆทั่วไป ก็พูดถึงความจริงที่สิ้นสุด ความจริงที่สูงสุด ความจริงขั้นสุดท้าย รวมทั้งวิธีการที่จะนำไปสู่ความจริงนั้น ล้วนเป็นผลรวมแห่งประสบการณ์เดิมที่ได้ผ่านการพิจารณาหรือไตร่ตรอง รวมทั้งพิสูจน์ทดลองมาอย่างรอบคอบถี่ถ้วนครบทุกขั้นตอน จนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติที่ดีที่สุด ปรัชญากับศาสนาปรัชญาบริสุทธิ์ไม่มีลักษณะของความขลังและความศักดิ์สิทธิ์เหมือนอย่างศาสนา แต่ศาสนามีลักษณะเป็นปรัชญาได้
แหล่งที่มา:http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=47.0

ทหารกับการเมือง

ทหารกับการเมืองไทยในอนาคต

“ความเจ็บป่วยทุกชนิดของประชาธิปไตย ต้องรักษาด้วยประชาธิปไตยที่มากขึ้น”
           หากพิจารณาสถานการณ์การเมืองไทยนับจากความสำเร็จของกองทัพในการทำรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา จะเห็นได้อย่างชัดเจนถึงความขัดแย้งหลักที่เกิดขึ้น โดยฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายที่ต่อต้านรัฐประหาร และอีกฝ่ายหนึ่งก็คือ กลุ่มทหารและรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจรวมถึงกลุ่มและสถาบันในสังคมที่สนับสนุนการกระทำดังกล่าว แต่สำหรับในส่วนของฝ่ายที่ต่อต้านรัฐประหารนั้น มักจะถูกกล่าวหาอย่างง่ายๆเสมอว่าเป็นพวก ”อำนาจรัฐเก่า” หรือพวกของ ”รัฐบาลเก่า” เพื่อต้องการทำลายความน่าเชื่อถือทางการเมืองของการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น ซึ่งหากมองด้วยความเป็นธรรมแล้ว จะเห็นได้ว่ากลุ่มต่อต้านรัฐประหารนั้น มิใช่มีเพียงองค์ประกอบของพวกรัฐบาลเก่าเท่านั้น หากแต่ยังประกอบไปด้วยกลุ่มที่มีความคิดทางการเมือง ที่ไม่เห็นด้วยกับการทำรัฐประหาร ดังจะเห็นได้ว่า คนในกลุ่มนี้บางส่วนก็เคยเป็นพวกต่อต้านรัฐบาลเก่ามาแล้ว เป็นต้น

      การจำแนกเช่นนี้ก็เพื่อให้เห็นถึงความเป็น 2 ขั้วของการเมืองไทยที่เกิดขึ้นและความเป็นขั้วเช่นนี้ นอกจากจะต่อสู้กันในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ด้วยการจัดชุมนุมในจุดต่างๆของประเทศแล้ว ก็ยังจะต่อสู้กันในพื้นที่ทางการเมืองใน 3 ส่วนหลัก คือ
      1.ปัญหารัฐธรรมนูญ
      2.ปัญหากฎหมายความมั่นคง
      3.ปัญหาการจัดตั้ง ”ระบอบทหาร” ในการเมืองไทย
แม้นว่าการต่อสู้ทางการเมืองที่ผ่านมา เรื่องของการรับร่างรัฐธรรมนูญแสดงให้เห็นได้ถึงเค้ารางของปัญหาความขัดแย้งในอนาคตว่า มิได้มีอยู่เฉพาะกับเรื่องของรัฐธรรมนูญเท่านั้น หากแต่การต่อสู้ในเรื่องรัฐธรรมนูญเป็นจุดเริ่มต้นอย่างชัดเจนที่สุด ในการช่วงชิงการกำหนดอนาคตเพื่อยึดครองพื้นที่ทางการเมืองของสถาบันในสังคมไทย
ดังจะเห็นได้ว่าในการต่อสู้แข่งขันระหว่างการรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนั้น มีเสียงขู่เสมือนกับการ”แบล็คเมล์” อยู่ตลอดเวลา เช่น ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่านอาจจะไม่มีการเลือกตั้ง หรือถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่านก็ไม่รู้ว่าทหารจะเอารัฐธรรมนูญฉบับไหนมาใช้ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม น่าสนใจว่าท่าทีของกลุ่มทหารที่มาจากการยึดอำนาจแตกต่างไปจากช่วงก่อนนี้อย่างมาก เพราะแต่เดิมสังคมไทยเผชิญกับ “ข่าวลือ” แทบทุกวันถึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้นำกองทัพกับผู้นำรัฐบาล หรือปัญหาความขัดแย้งภายในกองทัพ จนถึงขั้นอาจจะต้องใช้มาตรการทหารเข้าแก้ไขด้วยการ “รัฐประหารซ้ำ” เพื่อทำให้อำนาจที่อยู่ในมือของผู้นำทหารบางคนมีความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น
แต่จนถึงปัจจุบันเห็นได้ชัดเจนว่า โอกาสของการ “รัฐประหารซ้ำ” เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากพิจารณาสถานการณ์การเมืองในระยะสั้นแล้วจะเห็นได้ว่า
               1.ผลจากความขัดแย้งภายในของผู้นำทหารทำให้กองทัพไม่เป็นเอกภาพ และไม่สามารถที่จะรวมอำนาจมาไว้ในมือของผู้นำทหารคนหนึ่งคนใดได้ (ปัญหา power consolidaton)
               2.ผู้นำทหารปัจจุบันก็ไม่ได้มีใครมีลักษณะเป็น “บุรุษเหล็ก” ( strongman ) ที่มีลักษณะเข้มแข็งทางการเมืองและมีบุคลิกภาพสูงเด่น พอที่จะทำให้เกิดการนำในกองทัพและเกิดความหวังในหมู่ประชาชนได้อย่างแท้จริง
               3.ปัญหาเชิงทรรศนะระหว่างผู้นำรัฐบาลกับผู้นำทหารที่มาจากการยึดอำนาจบางส่วน ทำให้เกิดความขัดแย้งภายใน แต่ผู้นำกองทัพเองก็ไม่ได้มีความเข้มแข็งพอที่จะเปลี่ยนผู้นำรัฐบาลที่ถูกตั้งขึ้นจากการยึดอำนาจของทหารได้
                4.ประกอบกับความแตกแยกภายในสถาบันทหาร ทำให้ดุลยภาพกำลังในกองทัพ มีลักษณะของการ “คาน” กันอยู่ในหลายๆส่วน การตัดสินใจทำ”รัฐประหารซ้ำ” จึงอาจจะนำไปสู่ปัญหาของการ “รัฐประหารซ้อน”ได้ไม่ยากนัก
            เมื่อการรวมอำนาจของผู้นำทหารหลังการรัฐประหารกระทำไม่ได้ดังเช่นในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสใช้กำลังทหารออกปฏิบัติการทางการเมืองไม่ว่าจะด้วยเหตุของการยึดอำนาจ หรือการใช้กำลังทหารเข้ากวาดล้างการชุมนุมของฝูงชนที่ต่อต้านกลุ่มทหาร จึงไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะทำได้ง่ายในปัจจุบัน ในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้นำหารที่ต้องการดำรง “ระบอบทหาร” ( military regime ) ไว้ จึงเหลือทางเลือกหลักด้วยการยอมรับให้มีการเลือกตั้งแต่การเลือกตั้งที่เกิดขึ้น ก็จะต้องมีหลักประกันให้ระบอบการปกครองที่มีผู้นำทหารเป็นผู้นำดำรงอยู่ได้ ในกรณีเช่นนี้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 จึงไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าการจัดทำกฎหมายแม่บทของประเทศเพื่อค้ำประกันการสืบต่ออำนาจของกลุ่มผู้นำทหารที่มาจากการรัฐประหาร ซึ่งในมุมมองทางประวัติศาสตร์ อาจจะพิจารณาเปรียบเทียบได้กับรัฐธรรมนูญที่มาจากการยึดอำนาจของกลุ่มทหารในปี 2490 เป็นต้น
         จากที่ผ่านมา ผู้สนับสนุนทหารก็ได้เรียกร้องให้รับร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวไปก่อน พร้อมกันนี้ก็มีคนบางส่วนในสังคมที่คิดในแง่ดีว่า การรับร่างรัฐธรรมนูญจะเปิดโอกาสให้การเมืองไทยกลับไปสู่การเลือกตั้งได้ เช่นเดียวกับผู้คนอีกเป็นจำนวนมากก็กังวลว่าถ้าไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ก็จะกลายเป็นช่องทางให้ผู้นำทหารอยู่ในอำนาจต่อไป เพราะการเลือกตั้งไม่อาจเกิดขึ้นได้
อีกทั้งมีคนในสังคมหวังว่า การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นเร็วอาจจะเป็นโอกาสที่ทำให้แนวโน้มของวิกฤตเศรษฐกิจไทยลดความรุนแรง และความน่ากลัวลงได้บ้าง และทั้งยังจะเป็นโอกาสของการ “เปิดวาลว์” เพื่อลดแรงกดดันทางการเมืองจากประชาคมระหว่างประเทศที่ไม่คิดว่า รัฐประหารที่กรุงเทพฯมีความชอบธรรมและเป็นสิ่งควรยอมรับ เพราะประเทศที่พัฒนาแล้วจะมักมีกฎหมายห้ามการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาที่รัฐบาลมาจากการรัฐประหารเป็นผู้ปกครอง  การไม่ได้รับการยอมรับในทางการเมืองจากเวทีสากลอาจจะไม่ใช่เรื่องใหญ่ ถ้าโครงสร้างทางการเมืองของไทยมีลักษณะของการ “ปิดประเทศ” มาก่อน แต่สังคมไทยซึ่งมีลักษณะเป็นสังคมเปิด การถูกปฏิเสธจากระชาคมระหว่างประเทศ ไม่ใช่สิ่งที่เป็นผลดีต่อสถานะของประเทศ ไม่ว่าจะมองในทางการเมืองหรือเศรษฐกิจก็ตาม และยิ่งในยุคโลกาภิวัตน์ที่ไทยจำเป็นต้องพัฒนาคู่ขนานกับการเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอก การปฏิเสธผลกระทบจากเวทีสากล ด้วยการเชื่อแบบง่ายๆว่า รัฐประหารเป็นเรื่องภายในบ้านของคนไทย อาจจะทำให้เราถูกทอดทิ้งทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจได้โดยง่าย ดังตัวอย่างของการที่การลงทุนจากต่างประเทศเดินออกจากประเทศไทยมุ่งไปสู่เวียดนาม เป็นต้น
           นอกจากนี้ในสภาพของการถูก “แบล็คเมล์” ทางการเมืองให้ต้องรับร่างรัฐธรรมนูญนั้น ผลจากการรับร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว ก็คือร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อ 19 มิถุนายน และผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2550 ตามลำดับ   จากสภาพเช่นนี้ สังคมไทยจะไม่เพียงแต่ต้องอยู่กับอนาคตที่มีผลผลิตจากกระบวนการสร้างสถาบันของอำนาจทหารในการเมืองในบริบททางกฎหมาย 2 เรื่องใหญ่ คือ หนึ่งสังคมไทยจะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ถูกจัดทำขึ้นโดยองค์กรที่มาจากการรัฐประหาร และสองสังคมไทยจะตกอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวดด้วยกฎหมายความมั่นคง (ที่ถูกร่างขึ้นโดยคณะทหาร)
ผลผลิตเช่นนี้ย่อมนำไปสู่การจัดตั้ง “ระบอบทหาร” ซึ่งระบอบเช่นนี้มิได้หมายถึงรูปแบบเช่นในอดีตด้วยการจัดตั้งรัฐบาลทหารขึ้นปกครองประเทศ หากแต่มีนัยถึง รูปแบบการปกครองที่อยู่ภายใต้การควบคุมและ/หรืออิทธิพลของกลุ่มทหารเป็นสำคัญ และในขณะเดียวกันก็อาจจะไม่จำเป็นว่า หัวหน้ารัฐบาลต้องเป็นทหารหรืออาจจะเป็นทหารก็ได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือสถานะของรัฐบาลอยู่ได้ด้วยการสนับสนุนของกองทัพ และเมื่อใดก็ตามที่กองทัพถอนการสนับสนุนทางการเมืองออก รัฐบาลนั้นก็ไม่สามารถอยู่รอดได้
             ฉะนั้นผลจากการรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จึงมีนัยอย่างสำคัญต่ออนาคตการเมืองไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเกิดขึ้นของ “ระบอบทหาร” อันจะทำให้การเมืองไทยในอนาคตข้างหน้าตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของทหาร และยิ่งประกอบกับท่าทีของผู้นำทหารปัจจุบันบางท่านต่อการเลือกตั้งแล้ว ก็ยิ่งทำให้เห็นชัดถึงพลวัตรของการเมืองไทย ที่ผู้นำกองทัพมักจะมีความเชื่อว่า การเมืองไทยจะต้องถูกกำกับโดยผู้นำทหาร เพราะจินตนาการที่ถูกสร้างขึ้นอย่างง่ายๆจากกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมภายในกองทัพ ด้วยความเชื่อที่ว่า ผลประโยชน์ของทหารคือผลประโยชน์ของชาติ
ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า สังคมไทยหลังการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะยิ่งมีความเด่นชัดถึงการต่อสู้ระหว่างกลุ่มที่สนับสนุนทหารกับกลุ่มต่อต้านทหารในการเมืองไทย หรือเป็นความขัดแย้งของความคิดทางการเมืองแบบเสรีนิยมกับแบบทหารนิยมนั่นเอง

(จากจุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่ 32 มกราคม 2551 : สุรชาติ บำรุงสุข )
แหล่งที่มา:http://www.siamjurist.com/forums/5129.html

การวิเคราะห์การเมืองไทยเชิงปรัชญา

1. วิวัฒนาการแนวคิดทางการเมืองจากสุโขทัยถึงปัจจุบัน
• จากแนวคิดแบบธรรมราชาในสมัยสุโขทัยได้ปรับเปลี่ยนเป็นเทวราชาแบบพิเศษที่มีการผสมผสานระหว่างธรรมราชาแบบพ่อปกครองลูกมาเป็นเทวราชาแบบพระโพธิสัตว์ในสมัยอยุธยา
• ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นและตอนกลาง แนวคิดแบบธรรมราชาและเทวราชาก็ยังเป็นแนวคิดต่อเนื่อง จนถึงในสมัยรัชกาลที่ 5 และ 6 ได้เกิดความคิดที่จะลดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
แต่กษัตริย์ทั้ง 2 พระองค์ไม่ทรงเห็นด้วยโดยทรงให้เหตุผลว่าประชาชนยังขาดการศึกษาและยังไม่มีความเข้าใจในระบบประชาธิปไตยอย่างดีพอ แนวคิดแบบจำกัดพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ ได้ประสบความสำเร็จในรัชกาลที่ 7 แต่ก็ได้ยกย่องถวายพระเกียรติให้กษัตริย์ ซึ่งถึงแม้ว่าพระองค์จะอยู่ภายใต้กฏหมาย แต่ในรัฐธรรมนูญได้บัญญัติโดยการเทิดทูนเอาไว้ว่า
“องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ผู้ใดจะกล่าวหา หรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้”
อีกประการหนึ่ง ที่พระองค์ทรงกระทำอะไรไม่ผิดเพราะทรงปฏิบัติพระราชอำนาจโดยผ่านอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 คือ ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ดังนั้นอำนาจทั้ง 3 นี้ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในฐานะผู้ปฏิบัติการ
1. วิวัฒนาการแนวคิดทางการเมืองจากสุโขทัยถึงปัจจุบัน (ต่อ)
2. แนวคิดชาตินิยม (Nationalism)
เป็นแนวคิดที่สดุดี ความภักดีและการ
เสียสละเพื่อชาติของตนเหนือสิ่งอื่นใด เป็นค่านิยมและวิธีการที่จะทำให้ชาติมีความสมบูรณ์พูนสุข ถือว่าชาติของตนต้องเหนือกว่าชาติอื่น ๆ
ชาติต่าง ๆ ในยุโรปเมื่อกลายมาเป็นรัฐชาติและเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตยแล้ว ทำให้แต่ละชาติมีแนวคิดในเรื่องชาตินิยมอย่างเข้มข้น อันนำไปสู่สงครามโลกในเวลาต่อมา
สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาในด้านอักษรศาสตร์ ทั้งพระราชนิพนธ์ บทละคร ประวัติศาสตร์ เรื่องแปล สารคดี เรื่องปลุกใจให้รักชาติ ทรงนำประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ทรงตั้งกองลูกเสือไทย ส่งเสริมการศึกษา ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา ทรงสร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้งธนาคาร ประกาศใช้พระราชบัญญัตินามสกุล ออกแบบธงไตรรงค์ขึ้นใช้
ใน พ.ศ. 2524 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลกผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละครไว้เป็นจำนวนมาก
พระราชดำริทางการเมือง
แบบชาตินิยมของรัชกาลที่ 6
1. ทรงใช้บทพระราชนิพนธ์ พระบรมราชโองการและ พระราชดำรัส
2. ทรงใช้สัญลักษณ์ และการสร้างสถาบันต่าง ๆ ขึ้น
รัชกาลที่ 6 มีวิธีการหรือเครื่องมือในการสร้างชาตินิยมอยู่ 2 ประการ ใหญ่ ๆ คือ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัตน์
พลเอก เผ่า ศรียานนท์
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
14 ก.ค. 2440 – 11 มิ.ย. 2507
นายกรัฐมนตรีคนที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
16 ธ.ค. 2481 – 1 ส.ค. 2487 (ลาออก)
8 เม.ย. 2491 – 16 ก.ย. 2500 (รัฐประหาร)
รวม 18 ปี
ความคิดทางการเมืองแบบชาตินิยมของ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
เน้นความจงรักภักดีของประชาชนที่มีต่อชาติและการปฏิบัติตามนโยบายสร้างชาติของรัฐบาลโดยเคร่งครัด
1. การใช้แนวคิดแบบรัฐนิยม
2. การฟื้นฟูวัฒนธรรมแห่งชาติ
3. บทเพลงและละครปลุกใจ
4. การใช้คำขวัญ บทความ สุนทรพจน์ และคติเกี่ยวกับลัทธิชาตินิยม
• การใช้สื่อมวลชน หนังสือพิมพ์ประมวลวัน ใช้คำขวัญว่า
“เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย”
ความคิดทางการเมืองแบบชาตินิยม
• ความคิดทางการเมืองแบบชาตินิยม และเผด็จการทหารของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เน้นความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ตลอดจนสร้างความปลอดภัยให้สถาบันทั้ง 3 ด้วยแนวคิดความสามัคคีและอำนาจเผด็จการทางทหาร
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
16 มิ.ย. 2451 – 8 ธ.ค. 2506
ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 11
9 ก.พ. 2502 – 8 ธ.ค. 2506
(ถึงแก่อสัญกรรม)
“ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว”
เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นภายหลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ในยุโรป แข่งกับลัทธิเสรีประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นจากระบบเศรษฐกิจเสรีที่เป็นทุนนิยม ยกย่องการทำลายระบอบเศรษฐกิจทุนนิยม ระบอบศักดินา และการเอารัดเอาเปรียบมนุษย์ด้วยกัน โดยชี้ให้เห็นว่า การใช้กำลังในการต่อสู้กับระบอบทุนนิยมเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมของคอมมิวนิสต์
3. แนวคิดสังคมนิยม
(Socialism)
สังคมนิยมเน้นอะไร ?
สังคมนิยม หมายถึง ระบบเศรษฐกิจ และ การเมืองที่มีนโยบายมุ่งสนับสนุนและปรารถนาจะให้ชุมชน สังคม หรือส่วนรวมถือกรรมสิทธิ์หรือควบคุมการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยในการผลิต เช่น ทุน ทรัพยากร ที่ดิน วิทยาการ ทั้งนี้เพื่อมุ่งกระจายผลประโยชน์เหล่านี้เพื่อประชาชนทั้งมวล เน้นให้สังคมได้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งหมด
- สังคมนิยมของปรีดี พนมยงค์ มีลักษณะให้รัฐเข้าควบคุมปัจจัยการผลิตโดยยึดหลักตอบแทนผลประโยชน์ให้กับเจ้าของปัจจัยการผลิตและผู้ผลิตเดิม เป็นแนวความคิดซึ่งผสมผสานแนวความคิดของสังคมนิยมและประชาธิปไตยเข้าด้วยกัน รัฐจะเข้าควบคุมกิจการบางอย่างและเปิดให้เสรีในบางกิจการ แนวคิดนี้เน้นหลักการของแนวคิดสังคมนิยมว่า เป็นเครื่องช่วยให้เกิดความเจริญขึ้นในสังคมที่ยังล้าหลังได้รวดเร็วกว่าแนวคิดทุนนิยมและทำให้เกิดความยุติธรรมในสังคมที่มีความแตกต่างกันอยู่มากระหว่างคนมั่งมีกับคนยากจน
แนวคิดสังคมนิยมประชาธิปไตย
(Democratic Socialism)
4. อำนาจนิยมหรือเผด็จการทางทหาร
• แม้ประเทศไทยจะมีระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่ในความเป็นจริง ประเทศไทยยังตกอยู่วังวนแห่งอำนาจเผด็จการทางทหาร
• นับตั้งแต่มีการยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์ คณะราษฎรก็มีการเปลี่ยนถ่ายอำนาจขึ้นเป็นใหญ่ในหมู่ตนเอง ประชาชนไม่มีอำนาจอย่างแท้จริงในการกำหนดชะตาชีวิตให้แก่ตัวเอง
• ไม่มีใครรับรองได้ว่าประเทศไทยจะปลอดจากรัฐประหารเมื่อใด การสืบทอดอำนาจได้มีเรื่อยมา โดยเฉพาะแนวคิดแบบชาตินิยมผสมเผด็จการทหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และได้รับการสืบต่ออำนาจโดยจอมพลถนอม กิตติขจร จนนำไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 การชุมนุมกำลังของประชาชนที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ของประเทศไทย วันที่ 13 ตุลาคม 2516 เวลา 17.00 น.
ซ้ายพิฆาตขวา ขวาพิฆาตซ้าย
1.จอมพลประภาส จารุเสถียร 2.จอมพลถนอม กิตติขจร 3.พันเอกณรงค์ กิตติขจร
3 ผู้นำ ยุค 14 ตุลาคม 2516

1. เป็นผลสืบเนื่องมาตั้งแต่รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เร่งพัฒนาเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชน แต่เอาต้นประชาธิปไตยมาทำบอนไซประดับบ้าน จอมพลถนอม กิตติขจรผู้นำคนต่อมามีบารมีไม่พอไม่สามารถแก้ปัญหาความไม่สมดุลทางอำนาจได้
2. ความไม่ชอบธรรมของรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ทำให้ชนชั้นกลางไม่พอใจระบอบการเผด็จการทางทหารของรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร
3. ประชาชนเดือดร้อนเพราะข้าวสารและน้ำตาลทราบขาดแคลนรัฐบาล
4. ไทยมีนโยบายต่างประเทศตามแบบอเมริกา สหรัฐใช้ดินแดนไทยเป็นที่ตั้งฐานทัพ ส่งเครื่องบินทิ้งระเบิดที่อินโดจีน
5. แกนนำนิสิต 13 คนที่เดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญถูกตำรวจจับ
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
เหตุการณ์นี้เป็นการรวมพลังของปัญญาชนและชนชั้นกลาง นำขบวนโดยนิสิตนักศึกษาออกมาเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ทำให้นักศึกษาเคลื่อนไหวคัดค้าน โดยมารวมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีจำนวนคนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนรวมตัวกันเป็นแสนคนเคลื่อนตัวมายังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในวันที่ 13 ตุลาคม และได้กลายเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลาวิปโยคเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุม 13 คน และให้ผู้นำประเทศในเวลานั้นลาออก
จิรนันท์ พิตรปรีชา
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
ผู้นำนิสิต นักศึกษาสมัย 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519
ธีระยุทธ บุญมี
ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์
สุธรรม แสงประทุม

เป็นเหตุการณ์ที่พัฒนามาจาก 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มที่ต่อต้านขบวนการนิสิตนักศึกษา กลุ่มนิสิตนักศึกษา เรียกพวกนี้ว่า ขวาพิฆาตซ้าย
นิสิตนักศึกษามีความเห็นว่า ลัทธิสังคมนิยมจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่เสียเปรียบในสังคมได้ดีกว่าอุดมการณ์ทางประชาธิปไตย
เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519
โดยความขัดแย้งทางอุดมการณ์เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา
ทำให้สังคมไทยแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ
1. ฝ่ายซ้าย หมายถึง พวกที่ชื่นชมอุดมการณ์สังคมนิยม
2. ฝ่ายขวา ที่มีลักษณะอนุรักษ์ไม่ต้องการความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ความขัดแย้งเริ่มรุนแรงจนถึงขั้นนองเลือด
ผลคือ ฝ่ายนิสิตนักศึกษาถูกโจมตี จากฝ่ายขวา (พวกอนุรักษ์) อย่างเหี้ยมโหด มีผู้ล้มเจ็บและตายจำนวนมาก เป็นการกระทำที่โหดเหี้ยมมากกว่า ครั้งใดๆ ในประวัติศาสตร์ เช่น มีการเผาคนทั้งเป็น มีการแขวนคอ เป็นต้น
การสังหารหมู่ครั้งนี้มีนิสิตนักศึกษา และประชาชนเสียชีวิต ไม่ต่ำกว่า 300 คน และถูกจับ 300 – 400 คน นักศึกษาที่รอดจากการถูกจับประมาณ 2000 – 3000 คน หนีไปร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
ส่วนฝ่ายทหารจึงทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
ภายหลังการรัฐประหารนองเลือดในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ฝ่ายขวาหรือฝ่ายอนุรักษ์นำโดยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้ขึ้นบริหารประเทศ (ตุลาคม 2519 – 2525)
รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลพลเรือนที่อยู่ภายใต้การปรึกษาของ คณะปฏิรูป ประกอบด้วยทหาร 24 นาย มีสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ประกอบด้วยทหารและพลเรือน 340 คนในจำนวนนี้มี 130 คนมาจากทหาร 3 เหล่าทัพ

รัฐบาลของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร บริหารงานไม่ถึงปีก็ถูกยึดอำนาจโดยกลุ่มทหาร เมื่อ 20 ตุลาคม 2520
พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์เป็นนายกรัฐมนตรีแทน รัฐบาลก็ได้ปรับให้มีลักษณะแบบประชาธิปไตยเสรีนิยมมากขึ้น
จากนั้น การเมืองไทยก็วนเวียนอยู่กับการรัฐประหารของทหารอยู่เรื่อยมาจนถึงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ จึงทำให้ทหารต้องกลายเป็นทหารอาชีพ
พฤษภาทมิฬ ระหว่าง 17-20 พฤษภาคม 2535
จุดจบเผด็จการทางทหาร
จ.ป.ร. 7
จ.ป.ร. 5
รัฐบาลในขณะนั้นเป็นรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
และผู้ที่ทำการรัฐประหาร คือ กลุ่มผู้นำทางทหาร นำโดย พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ และพลเอกสุจินดา คราประยูร โดยได้อ้างว่ารัฐบาลมีการทุจริตฉ้อราษฎรบังหลวง
ดังนั้น ผู้นำทหารพร้อมด้วยคณะนายทหารที่เรียกตัวเองว่าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (ร.ส.ช.) ทำการรัฐประหารเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2534
คณะ ร.ส.ช. ได้ทำการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2521 และให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ฉบับ ร.ส.ช. และได้ทำการแต่งตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงให้เห็นว่าคณะ ร.ส.ช. ไม่ต้องการอำนาจทางการเมือง แต่คณะ ร.ส.ช. ก็มีอำนาจในการบริหารการเมืองอยู่ดี
โดยได้มอบอำนาจเฉพาะด้านเศรษฐกิจให้แก่ นายอานันท์ ปันยารชุน โดยพลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ให้คำสัญญาว่าจะมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดยใช้เวลาเพียง 6 เดือน และย้ำว่าผู้นำ ร.ส.ช. จะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

แต่ในที่สุด พลเอกสุจินดา คราประยูร ก็เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของไทย โดยยอมเสียสัจจะเพื่อชาติ เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2535 โดยอาศัยรัฐธรรมนูญฉบับ ร.ส.ช. พ.ศ. 2534
“ ข้อที่ว่านายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจาก ส.ส.”
จึงทำให้ประชาชนไม่พอใจ ได้มีการเดินขบวนประท้วงคัดค้านการเข้ากุมอำนาจทางการเมืองของผู้นำ ร.ส.ช.
จนกลายเป็นเหตุการณ์ก่อนพฤษภาทมิฬที่จบลงด้วยการนองเลือดในหว่างวันที่ 17 - 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
ซึ่งต่อมาเรียกว่า เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
แต่ในหลวงได้ทรงยุติศึกโดยเรียกพลเอกสุจินดา คราประยูร ซึ่งเป็น จปร. 5 และพลตรีจำลอง ศรีเมือง ซึ่งเป็น จปร. 7 เข้าเฝ้า และทรงขอให้ยุติการขัดแย้ง เพราะไม่มีประโยชน์อะไรที่จะมาชนะกันในเมื่อ ความชนะนั้นเป็นความพินาศของประเทศชาติ
ในที่สุด พลเอก สุจินดา ก็ลาออก และได้มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปเป็นการชั่วคราว
และก็ได้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายชวน หลีกภัย ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรี หลังจากนายชวนก็มีนายกรัฐมนตรีคนต่อมาคือ นายบรรหาร ศิลปอาชา พลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ แล้วก็มานายชวน หลีกภัย
หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ทำให้ทหารกลับเข้าสู่กรม กองกลายเป็นทหารอาชีพ ประชาชนชาวไทยคิดว่าประเทศไทยเป็นอารยประเทศปลอดจากกลิ่นอายแห่งการปฏิวัติรัฐประหาร
ในสมัยนั้น เกียรติภูมิของทหาร เป็นภาพที่ติดลบในสายตาของประชาชน แต่กลับกลายเป็นผลดีที่ทำให้ทหารได้มีจิตสำนึกว่า ตนเองมีหน้าที่ในการป้องกันประเทศชาติ ไม่ใช่การยึดอำนาจและสืบทอดอำนาจเผด็จการ
นายกรัฐมนตรีคนต่อมาคือ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งได้สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการนำพรรคไทยรักไทยมีเสียงเกินกึ่งหนึ่งจัดตั้งรัฐบาลผสม
เขายังสร้างประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่งด้วยการเป็นผู้นำพรรคไทยรักไทยเป็นพรรคเดียวในการจัดตั้งรัฐบาล แต่แล้วก็ต้องพ่ายแพ้ต่อกลุ่มม็อบจากการนำของนายสนธิ ลิ้มทองกุล เมื่อทหารเห็นความขัดแย้งของคนไทยระหว่างรัฐบาลกับม็อบจึงได้ออกมาทำการรัฐประหาร
คมช. ภายใต้การนำของพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ได้เชิญให้องคมนตรีคือ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 เพื่อรอการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และการเลือกตั้งครั้งใหม่
เกิดเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2486
เริ่มดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน
เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2489
เริ่มดำรงตำแหน่งประธาน คมช.
19 กันยายน พ.ศ. 2549 - ปัจจุบัน
ผบ.ทบ. 11 นายกฯ 2
ผบ.ทบ. 12 นายกฯ 3
ผบ.ทบ. 16 นายกฯ 11
ผบ.ทบ. 17 นายกฯ 10
จ.ป.ร. ผบ.ทบ. 35 คน เป็นนายกฯ 8 คน (โรงเรียนผลิตนายกรัฐมนตรี)
ผบ.ทบ. 22 นายกฯ 16
ผบ.ทบ. 25 นายกฯ 22
ผบ.ทบ. 26 นายกฯ 19
ผบ.ทบ. 31 นายกฯ 24

• คนไทยคิดว่าการรัฐประหารเป็นสิ่งที่ล้าสมัยและจะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปจนกระทั่ง 19 กันยายน 2549
• ประชาชนชาวไทยก็รู้สึกช็อคทั้งประเทศ เมื่อเกิดรัฐประหารขึ้น
• แต่ความรู้สึกในครั้งนี้กลับแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬเพราะในครั้งนี้ คนไทยรู้สึกพอใจที่ทหารได้เข้ามาแก้ไขปัญหาระหว่างความขัดแย้งของรัฐบาลและฝ่ายต่อต้าน
V.S.
เตรียมทหารรุ่นที่ 10 นายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 26
นายกรัฐมนตรี คนที่ 23
เตรียมทหารรุ่นที่ 6 จปร.รุ่นที่ 17
ผู้บัญชาการทหารบก คนที่ 35
สรุปการเมืองไทย
อำนาจอยู่ที่กษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง ชาวบ้านไม่มีสิทธิ์ทางการเมืองจะเลือกได้แต่เฉพาะผู้ใหญ่บ้านเท่านั้น
ในระบบนี้ไทยเผชิญวิกฤติการณ์ 2 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 เสียอยุธยาให้พม่า
ครั้งที่ 2 เผชิญการล่าอาณานิคมของยุโรป
ทำให้รัชกาลที่ 5 ต้องปรับปฏิรูปใหม่มีกระทรวง ทบวง กรม จึงต้องมีการสร้างระบบราชการขึ้นมา ด้วยการส่งคนไปเรียนเมืองนอก เกิดข้าราชการแทนฝรั่ง
ราชาธิปไตย
ในสมัยนั้น กระแสประชาธิปไตยมาแรง ข้าราชการที่ไปเรียนต่างประเทศ อยากให้ไทยเป็นแบบฝรั่ง จึงมีการทูลฎีกาถวายความเห็นแด่รัชกาลที่ 5 แต่พระองค์ไม่ทรงเห็นด้วย เนื่องจากทรงเห็นว่าประชาชนยังไม่มีความพร้อม
ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิด กบฎ ร.ศ. 130
ในสมัยรัชกาลที่ 7 เกิดการปฏิวัตินำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475
เกิดจากการปฏิวัติของพวกคณะราษฎร ดูเหมือนจะเป็นการปฏิวัติ แต่จริง ๆ คือ การแย่งอำนาจมาจากกษัตริย์สู่กลุ่มทหาร
จาก พ.ศ. 2475 – 2500 การเมืองวนเวียนอยู่กับการเปลี่ยนอำนาจจากสายทหารไปพลเรือน และจากพลเรือนไปสู่สายทหาร
เริ่มมีการพัฒนาในยุคจอมพลสฤษดิ์ เป็นกึ่งเกษตรกึ่งอุตสาหกรรม ได้เกิดพ่อค้านายทุนขึ้น กรรมาชีพตั้งสหภาพ
เกิดชนชั้นกลางใหม่มีการศึกษาดี ตื่นตัวทางการเมือง แตกต่างจากรุ่นบรรพบุรุษซึ่งเป็นพวกต่างด้าว
2. อำมาตยาธิปไตย
แต่ได้ถูกทหารแช่แข็งประชาธิปไตย จึงทำให้นำไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 คน 5 แสน มีนิสิตเป็นศูนย์กลางจึงลุกฮือขึ้นต่อสู้กับเผด็จการเพื่อทวงถามประชาธิปไตยที่แท้จริง และเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ขวาพิฆาตซ้าย รวมทั้ง การรัฐประหารจากสายทหารอยู่ไม่ขาดสาย
สรุป อำนาจเปลี่ยนมือจากราชา  ข้าราชการ (ทหาร)  ชนชั้นกลางใหม่ (นักธุรกิจ)
กลุ่มนักธุรกิจผู้มีเงินวิ่งเข้าหาทหารเพื่อขอความอุปถัมภ์คุ้มครองแล้วจ่ายเงินสนับสนุนทหาร
ทหารก็เอื้อเฟื้อทำให้ได้อภิสิทธิ์ในธุรกิจ เป็นการรวมตัวระหว่างอำนาจ + เงิน นำไปสู่การแต่งงานทางสังคมของลูกหลาน
ต่อมา นักธุรกิจเหล่านี้ได้เริ่มเข้าไปเป็นนายทุนพรรคและเผยโฉมเล่นการเมืองเองรวมทั้งมีสัมพันธ์กับทหารไปด้วย
ระบบเริ่มกลับหัวกลับหาง นักธุรกิจเริ่มจ้างทหารไปเป็นที่ปรึกษาในบริษัทใหญ่ ๆ
3. ธนาธิปไตย
จะต้องพยายามให้ประชาชนเข้าถึงประชาธิปไตยให้ได้เพื่อบีบ ธนาธิปไตย อย่าให้เงินซื้อศักดิ์ศรีคนได้ ประชาชนต้องสำนึกตัว อย่าทำตัวเป็นโสเภณีราคาถูก
พฤษภาทมิฬเป็นการสู้ระหว่างประชาธิปไตยกับทหาร แยกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มทหารและนักธุรกิจการเมืองรุ่นเก่า 2) พลังประชาธิปไตยกับนักธุรกิจรุ่นใหม่ กลุ่มที่ 2 นี้ เป็นพวกต้องการประชาธิปไตย และไม่ชอบการผูกขาดทางอำนาจทางการเมือง และการผูกขาดทางเศรษฐกิจ
รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ทหารอ้างความจำเป็นเพื่อความสามัคคีของชาติเข้ามาจัดระเบียบให้การเมืองไทย
4. ประชาธิปไตยกับการทำลายตนเอง
ในขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในภาวะแปลกแยก สับสนเหมือนเรือไร้หางเสือ อันสืบเนื่องมาจากการเมืองที่สับสนโดยมีรัฐบาลที่เข้ามารักษาการ รวมทั้งการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่อาจนำมาซึ่งความสับสนรวมทั้งการไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ระบบเศรษฐกิจตกต่ำ ประชาชนขาดความมั่นใจทางการเมือง เกิดความแตกสามัคคีของคนในชาติ ...?
แนวคิดการเมืองไทยในปัจจุบัน
ในปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังหาทางที่จะสถาปนาแนวคิดแบบธรรมรัฐเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
แต่แนวทางอุดมคตินั้นก็ยังเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก ถ้าหากประชาชนยังขาดจิตสำนึกทางการเมือง และมีราคาค่าตัวในการเลือกตั้งเท่ากับไก่หรือเป็ดตัวหนึ่ง
แนวทางการแก้ไขคือ การให้ประชาชนสามารถกำหนดทิศทางทางการเมืองของตนได้ดังคำพูดที่ว่า
แนวคิดทางการเมืองไทยในอนาคต
“เสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์”

สรุปปรัชญาทางการเมืองไทย
จากราชาธิปไตยแบบธรรมราชาไปสู่เทวราชาและเกิดการผสมผสานกันโดยเน้นที่ธรรมราชาเป็นหลัก
แนวคิดทั้ง 2 ทำให้เกิดระบบความคิดทางการเมืองแบบ อำมาตยาธิปไตย คือ การแย่งอำนาจจากกษัตริย์มาอยู่ในวังวนแห่งการหมุนเวียนเปลี่ยนอำนาจระหว่างพลเรือนและขุนศึก
จากนั้น ได้พัฒนาไปสู่ความเป็นธนาธิปไตย เมื่อนักธุรกิจ ผู้อยู่เบื้องหลังในการสนับสนุนการเมืองได้ออกมาเล่นการเมืองอย่างเปิดเผยนำไปสู่ระบบประชาธิปไตยแบบการทำลายตัวเอง
จึงเกิดคำถามว่า ประเทศไทยจะพัฒนาด้วยระบบปรัชญาทางการเมืองแบบใด ?
1. เสียอยุธยา = ภัยจากภายนอก
2. ลัทธิล่าอาณานิคม = ภัยจากภายนอก
3. ลัทธิคอมมิวนิสต์ = ภัยจากภายนอกและภายใน
4. ลัทธิประชาธิปไตยแบบทำลายตัวเอง
แหล่งที่มา:http://www.siamjurist.com/forums/5129.html

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

ศาลยุติธรรม

  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๑๘ บัญญัติว่า “ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น” ดังนั้น ศาลยุติธรรมจึงเปรียบเสมือนเป็น “ศาลทั่วไป” ซึ่ง อาจารย์ไพโรจน์ วายุภาพ เห็นว่าเป็นศาลหลักของประเทศ ส่วนศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลทหารเปรียบเสมือนเป็น “ศาลเฉพาะ” กล่าวคือ คดีใดเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง หรือศาลทหาร บุคคลผู้ที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลก็จะต้องเสนอคดีต่อศาลนั้น และคดีนั้นย่อมมิใช่คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ส่วนคดีใดมิใช่คดีที่อยู่ในอำนาจของทั้งศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลทหาร ซึ่งเป็นศาลเฉพาะแล้ว คดีนั้นย่อมเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นศาลทั่วไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๖๙๖/๒๕๔๘ จำเลยทั้งสิบห้าเป็นคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๗๔ และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๓ บัญญัติให้มีขึ้น การดำเนินงานของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมเป็นการใช้อำนาจในการบริหารงานบุคคล และเป็นการกระทำทางปกครองประเภทหนึ่ง ถ้าการดำเนินงานของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้มีสิทธิเสนอคดีย่อมนำคดีขึ้นสู่การวินิจฉัยของศาลได้ แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคสอง (๒) บัญญัติว่า การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครอง และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๗๑ บัญญัติว่า “ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญนี้หรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น” ดังนั้น คดีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตุลาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษากล่าวอ้างว่าการดำเนินงานของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมที่เกี่ยวกับการไม่รับสมัครสอบโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงอยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม

การศึกษาเรื่องระบบศาลนี้ทำให้เข้าใจได้ว่า ประเทศไทยใช้ระบบศาลคู่ โดยมีศาลอยู่ด้วยกัน ๔ ระบบ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร ซึ่งศาลทั้งสี่ระบบของประเทศไทย ล้วนแต่เป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการเหมือนกัน ความแตกต่างอยู่ตรงที่แต่ละศาลมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีคนละประเภทกัน ดังนั้น การเสนอคดีต่อศาล บุคคลผู้ที่จะนำคดีขึ้นสู่ศาลจะต้องพิจารณาก่อนว่า คดีของตนนั้นเป็นคดีประเภทใดและอยู่ในอำนาจของศาลระบบใด เพราะหากเสนอคดีไม่ถูกต้องตามระบบศาล ศาลนั้นก็ย่อมที่จะไม่สามารถพิจารณาพิพากษาคดีนั้นได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
       แหล่งที่มา:http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1582

ศาลทหาร

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๒๘ วรรคหนึ่ง กำหนดให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารและคดีอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๖ แบ่งศาลทหารออกเป็น ๓ ชั้น คือ ศาลทหารชั้นต้น ศาลทหารกลาง และศาลทหารสูงสุด
สำหรับศาลทหารชั้นต้น พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๗ แบ่งออกเป็นศาลจังหวัดทหาร ศาลมณฑลทหาร ศาลทหารกรุงเทพ และศาลประจำหน่วยทหาร
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๓ ให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาวางบทลงโทษผู้กระทำผิดต่อกฎหมายทหารหรือกฎหมายอื่นในทางอาญา ในคดีซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิด และมีอำนาจสั่งลงโทษบุคคลใด ๆ ที่กระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
แต่คดีต่อไปนี้ ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๔
๑) คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน
๒) คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
๓) คดีที่ต้องดำเนินในศาลเยาวชนและครอบครัว
๔) คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ต้องดำเนินคดีในศาลพลเรือนตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๕ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๗๙๖/๒๕๔๑)
บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๖ กำหนดไว้ ดังนี้
๑) นายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ
๒) นายทหารชั้นสัญญาบัตรนอกประจำการ เฉพาะเมื่อกระทำผิดต่อคำสั่งหรือข้อบังคับตามกฎหมายอาญาทหาร
๓) นายทหารประทวนและพลทหารกองประจำการ หรือประจำการ หรือบุคคลที่รับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
๔) นักเรียนทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
๕) ทหารกองเกินที่ถูกเข้ากองประจำการ ซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้รับตัวไว้เพื่อให้เข้ารับราชการประจำการอยู่ในหน่วยทหาร
๖) พลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหาร เมื่อกระทำผิดในหน้าที่ราชการทหารหรือกระทำผิดอย่างอื่นเฉพาะในหรือบริเวณอาคาร ที่ตั้งหน่วยทหาร ที่พักร้อน พักแรม เรือ อากาศยาน หรือยานพาหนะใด ๆ ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ทหาร
๗) บุคคลที่ต้องขัง หรืออยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย
๘) เชลยศึก หรือชนชาติศัตรูซึ่งอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารนอกจากนี้ ยังมีศาลทหารในกรณีไม่ปกติ เรียกว่า “ศาลอาญาศึก” ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อมีการรบ การสงคราม หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก และเมื่อหน่วยทหารหรือเรือรบอยู่ในยุทธบริเวณ (ซึ่งกำหนดโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) ตั้งอยู่กับหน่วยทหารหรือเรือรบในยุทธบริเวณทั้งภายในและภายนอกประเทศ มีเขตอำนาจเฉพาะหน่วยทหารที่อยู่ในยุทธบริเวณมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวง ซึ่งจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดเกิดขึ้นในเขตอำนาจนั้น โดยไม่จำกัดตัวบุคคลและอัตราโทษ เมื่อศาลอาญาศึกพิพากษาแล้วไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาใด ๆ ทั้งสิ้น
แหล่งที่มา:http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1582

ศาลปกครอง



  แต่เดิมนั้น ระบบศาลของประเทศไทยเป็นระบบศาลเดี่ยว ศาลยุติธรรมเป็นองค์กรตุลาการที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่าง ๆ รวมทั้งคดีปกครอง ภายหลังเมื่อประเทศไทยได้ปฏิรูปการเมืองโดยการตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ ขึ้น รัฐธรรมนูญ[จึงได้กำหนดให้มีการจัดตั้งศาลปกครองแยกต่างหากจากศาลอื่น ๆ ในลักษณะศาลคู่ ส่งผลให้มีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ทำให้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๔ โดยเริ่มจัดตั้งศาลปกครองกลางและศาลปกครองสูงสุดขึ้นพร้อมกันในวันดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่าเป็นการที่ประเทศไทยเริ่มต้นใช้ระบบศาลคู่และมีหลักกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครองของศาลอย่างเป็นรูปธรรมโดยผลของพระราชบัญญัติดังกล่าว
          


ปัจจุบัน ศาลปกครองมีอยู่ด้วยกัน ๒ ชั้น ได้แก่ ศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองชั้นต้น แต่ในอนาคตอาจจะมีศาลปกครองชั้นอุทธรณ์ด้วยก็ได้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้กำหนดอำนาจของศาลปกครองไว้ใน มาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยบัญญัติว่า “ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกัน อันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมาย หรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ รวมทั้งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาเรื่องที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง
อำนาจศาลปกครองตามวรรคหนึ่งไม่รวมถึงการวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นการใช้อำนาจโดยตรงตามรัฐธรรมนูญขององค์กรตามรัฐธรรมนูญนั้น”
จากถ้อยคำตอนท้ายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๒๓ วรรคหนึ่ง ที่ว่า “ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” นั้น อำนาจของศาลปกครองมีเป็นประการใดจึงพิจารณาได้จากบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นสำคัญ ซึ่งมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง ได้แยกประเภทคดีปกครองออกเป็น ๖ ประเภท ดังนี้
๑) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำฝ่ายเดียวของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใด เนื่องจากกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจ หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ
คดีที่มีการฟ้องต่อศาลปกครองนั้นอาจเป็นการฟ้องในเรื่องคำสั่งต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “คำสั่งทางปกครอง” หรืออาจเป็นกรณีที่กฎหรือการกระทำอื่นใดของทางราชการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
๒) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
๓) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
๔) คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
๕) คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับบุคคลให้กระทำการหรือละเว้นกระทำการ
๖) คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง
ส่วนคดีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครองนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กำหนดไว้ใน มาตรา ๙ วรรคสอง (๑) (๒) และ (๓) ซึ่งการบัญญัติไว้ดังกล่าว มีความมุ่งหมายที่จะกำหนดข้อยกเว้นเฉพาะคดีที่มีลักษณะเป็นคดีปกครองตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง ซึ่งเข้าข่ายเป็นการดำเนินการตามมาตรา ๙ วรรคสอง (๑) (๒) หรือเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลตาม (๓) ไม่ให้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองจึงอาจสรุปได้ดังนี้
๑) การดำเนินการเกี่ยวกับวินัยทหาร (มาตรา ๙ วรรคสอง (๑))
๒) การดำเนินการของคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ (มาตรา ๙ วรรคสอง (๒))
๓) คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลชำนัญพิเศษ (มาตรา ๙ วรรคสอง (๓))
๔) คดีที่มีกฎหมายตัดอำนาจศาลปกครองไว้โดยเฉพาะ
แหล่งที่มา:http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1582

ศาลรัฐธรรมนูญ


ศาลรัฐธรรมนูญ หมายถึง องค์กรสูงสุดที่มีอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดว่า บทกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือการกระทำใดๆ ทั้งของรัฐและของบุคคล ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่รวมทั้ง อำนาจการวินิจฉัยชี้ขาดว่า ร่างรัฐพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างข้อบังคับการประชุมสภา มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นทั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และเป็นทั้งศาลที่จะต้องพิจารณาพิพากษาคดีหรือดำเนินการต่างๆ ตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์

ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีกสิบสี่คนรวมเป็นสิบห้าคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากบุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ตำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวนห้าคน ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดจำนวนสองคน ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์จำนวนห้าคน และผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์จำนวนสามคน ทั้งหมดได้มาจากการเลือกตั้งโดยวิธีลงคะแนนลับในที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด และคณะกรรมการสรรหาทำการเลือกและเสนอรายชื่อต่อวุฒิสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่งตามวาระเก้าปี และให้ดำรงตำแหน่งเพียงวาระเดียว องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการนั่งพิจารณาและในการทำคำวินิจฉัยต้องประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่าเก้าคน คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ถือเสียงข้างมากและให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลและองค์กรอื่นของรัฐ

 อำนาจหน้าที่และความสำคัญของศาลรัฐธรรมนูญตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญสามารถสรุปเป็นข้อๆ ได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า มติหรือข้อบังคับใดของพรรคการเมืองขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือขัดต่อสถานะและการปฎิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าขัด มติหรือข้อบังคับนั้น เป็นอันยกเลิกไป (ตามมาตรา 47)
ข้อ 2. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำ หรือสั่งยุบพรรคการเมือง ที่มีการกระทำอันเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ตามมาตรา 63)
ข้อ 3. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า สมาชิกสภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาต้องสิ้นสุดลง เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 118 หรือมาตรา 133 หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าสิ้นสุด ก็จะมีผลนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย (ตามมาตรา 96 และมาตรา 97)

ข้อ 4. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาต้องสิ้นสุดลงเมื่อได้กระทำการอันต้องห้าม ตามมาตรา 110หรือ มาตาร 111 กล่าวคือ ดำรงตำแหน่งในหน่วยราชการหรือหน่วยงานของรัฐ รับสัปทานจากรัฐรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ จากหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานของรัฐ หรือใช้สถานะหรือตำแหน่งเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงการบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้ายข้าราชการประจำ หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่า สิ้นสุด ก็จะมีผลนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย (ตามมาตรา 96 และ มาตรา 97)
ข้อ 5. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยว่า มติของพรรคการเมืองใดที่ให้ขับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัด พ้นจากสมาชิกภาพของพรรค มีลักษณะตามมาตรา 47 วรรคสาม คือ ขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือขัดต่อสถานะการปฎิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยวขัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ถูกขับสามารถหาพรรคใหม่สังกัดภายในสามสิบวัน โดยไม่สิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย (ตามมาตรา 118(8) )
ข้อ 6. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบ สามารถหาพรรคใหม่สังกัดได้ภายในสามสิบวัน โดยไม่สิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ตามมาตรา 118(9) )
ข้อ 7. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า กรรมการการเลือกตั้งผู้ใด ที่ถูกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภา ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 139 หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าพ้น ก็จะมีผลนับแต่วันที่ศาลรัฐัรรมนูญมีคำวินิจฉัย (ตามมาตรา 142)
ข้อ 8. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า ความเป็นประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา ต้องสิ้นสุดลง เนื่องจากขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 152 วรรคสาม (4) เมื่อ ต้องคำพิพากษาให้จำคุก หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าสิ้นสุด ก็จะมีผลนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย
ข้อ 9. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ มีหลักการเดียวกันกับร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมี่วุฒิสภามีมติยับยั้งไว้ หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่ามีหลักการเดียวกันจะเสนอร่างนั้นเข้ามาใหม่ไม่ได้ (ตามมาตรา 177)
ข้อ 10. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยว่า การกระทำใดของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการ มีส่วนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยออ้ม ในการใช้งบประมาณรายจ่าย หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าลักษณะดังกล่าวก็ให้การกระทำดังกล่าวสิ้นผลไป (ตามมาตรา 180 วรรคหกและวรรคเจ็ด)
ข้อ 11. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยกรณีที่ผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาเห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ หรือการกระทำใดของบุคคล มีปัญหาเกี่ยวกับความเห็นชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือไม่ (ตามมาตรา 198)
ข้อ 12. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีต้องสิ้นสุดลงเนื่องจากขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 216 (4) เมื่อต้องคำพิพากษาให้จำคุก หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าสิ้นสุด ก็จะมีผลนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย
ข้อ 13. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยว่า พระราชกำหนดใดเป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงและเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเหลี่ยงได้ ตามมาตรา 218 วรรคหนึ่ง หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าไม่เป็น ให้พระราชกำหนดนั้นไม่มีผลบังคับมาแต่ต้น (ตามมาตรา 219)
ข้อ 14. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยว่า ความเป็นประธานศาลรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องสิ้นสุดลง เนื่องจากขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 260 (7) เมื่อต้องคำพิพากษาให้จำคุก หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าสิ้นสุด ก็จะมีผลนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ข้อ 15. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติใดที่สภาให้ความเห็นชอบแล้ว มีข้อความขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรั ฐธรรมนูญนี้ หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าขัดหรือไม่ถูกต้อง และข้อความดังกล่าวเป็นสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ ให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นตกไปทั้งบับ แต่ถ้าไม่ใช่สาระสำคัญ ก็ตกไปเฉพาะข้อความที่ขัดหรือแย้งนั้น (ตามมาตรา 262)
ข้อ 16. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยว่า ร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือการประชุมวุฒิสภา และการประชุมรัฐสภาที่สภาให้ความเห็นชอบแล้ว ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกติ้งตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าขัด ก็เป็นอันใช้บังคับมิได้(ตามมาตรา 263)
ข้อ 17. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีใดต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 คือ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าขัด บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นก็เป็นอันใช้บังคับมิได้ (ตามมาตรา 264 )
ข้อ 18. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัย กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาขหน้าที่ขององค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญว่าเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรใด ตามที่องค์กรนั้นหรือประธานรัฐสภาเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ (ตามมาตรา 266 )
ข้อ 19. คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ให้เป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ (ตามมาตรา 266 )
ข้อ 20. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจชี้ขาดว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใดจงใจไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินด้วยข้อความเป็นเท็จ หรือจงใจปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติหรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยชี้ขาดว่า จงใจ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่งและห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลาห้าปี (ตามมาตรา 295 )
ข้อ 21. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า ความเป็นประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต้องสิ้นสุดลงเนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 298 วรรคสาม เมื่อ ต้องคำพิพากษาให้จำคุก หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่า สิ้นสุด ก็จะมีผลนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย



 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ


แหล่งที่มา:http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D

ระบบศาลของไทย

การปกครองประเทศในรัฐเสรีประชาธิปไตยทั้งหลายนั้น ล้วนได้รับอิทธิพลทางความคิดจาก “หลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตย” กล่าวคือ อำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ฝ่าย คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจในการออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เรียกว่า “กฎหมาย” เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของประชาชนในรัฐ
อำนาจบริหาร คือ อำนาจหน้าที่ในการบริหารปกครองประเทศโดยนำเอากฎหมายต่าง ๆ ที่บัญญัติขึ้นโดยองค์กรนิติบัญญัติไปบังคับใช้กับประชาชน
อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการตรวจสอบว่า กฎหมายต่าง ๆ ได้รับการเคารพและปฏิบัติตามหรือมีการละเมิดกฎหมายเหล่านั้นหรือไม่
       ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และรับหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตยมาใช้อย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๓ วรรคแรก บัญญัติว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้” อาจกล่าวได้ว่า องค์กรหลักที่เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของไทยทั้งสามฝ่ายนั้น ได้แก่ รัฐสภาเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร และศาลเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการ
       อย่างไรก็ตาม นอกจากองค์กรหลักที่เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของไทยทั้งสามฝ่ายดังกล่าวแล้ว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ยังได้กำหนดขึ้นไว้ในหมวด ๑๑ ให้มีองค์กรอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมิได้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรหลักทั้งสามนั้น เรียกว่า “องค์กรตามรัฐธรรมนูญ” โดยแบ่งออกเป็น “องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ” ๔ องค์กร และ “องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ” อีก ๓ องค์กร รวมเป็น “องค์กรตามรัฐธรรมนูญ” ทั้งสิ้น ๗ องค์กร
องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๑๑ ประกอบด้วย
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ๔ องค์กร ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ๓ องค์กร ได้แก่ องค์กรอัยการ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ดังนั้น ในปัจจุบัน องค์กรหลักของประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่
๑) รัฐสภา
๒) คณะรัฐมนตรี
๓) ศาล
๔) องค์กรตามรัฐธรรมนูญ





 “ศาล” จึงเป็นหนึ่งในองค์กรหลักที่สำคัญในการปกครองประเทศ ซึ่งเป็นผู้ใช้ “อำนาจตุลาการ” โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๑๐ ว่าด้วย ศาล กำหนดให้มีศาลทั้งสิ้น ๔ ระบบ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร
       
 การจำแนกรูปแบบของระบบศาลในต่างประเทศนั้น อาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ระบบ คือ ระบบ “ศาลเดี่ยว” และระบบ “ศาลคู่”
ระบบศาลเดี่ยว เป็นระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง หรือคดีประเภทอื่น ๆ ระบบนี้เป็นระบบที่ใช้กันมากที่สุด ประเทศที่ใช้ระบบนี้ ได้แก่ กลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law) เช่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา
ระบบศาลคู่ เป็นระบบที่ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทเฉพาะคดีแพ่งและคดีอาญาเท่านั้น ส่วนคดีปกครองแยกให้ศาลปกครองเป็นศาลที่มีอำนาจในการวินิจฉัยคดีดังกล่าว ข้อพิจารณาของระบบศาลคู่ คือ การแยกระบบของผู้พิพากษาและการแยกองค์กรศาลปกครองออกจากระบบศาลยุติธรรม ประเทศที่ใช้ระบบศาลคู่ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) เช่น ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแบ่งระบบศาลออกเป็น ๔ ระบบ เช่นนี้แสดงว่า ระบบศาลของประเทศไทยเป็นระบบศาลคู่ แยกเป็นอิสระจากกัน มีผู้พิพากษาหรือตุลาการของแต่ละศาลโดยเฉพาะ จะย้ายจากศาลหนึ่งไปดำรงตำแหน่งในอีกศาลหนึ่งไม่ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้แต่ละคดีได้รับการวินิจฉัยโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่มีความรู้ความเข้าใจกฎหมายและลักษณะคดีแต่ละประเภทเหล่านั้นเป็นผู้ชี้ขาดตัดสิน ด้วยวิธีพิจารณาที่เหมาะสม นอกจากนี้ ปัญหาใดอันเป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ ย่อมไม่อาจวินิจฉัยโดยศาลธรรมดาได้ ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัยศาลทั้งสี่ระบบย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการ โดยมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีแต่ละประเภทแตกต่างกันไป ตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนด ซึ่งต่อไปจะได้กล่าวถึงศาลในแต่ละระบบโดยเน้นไปที่อำนาจหน้าที่

ประเภทของศาลในประเทศไทย
        ๑. ศาลรัฐธรรมนูญ (Constitutional Court)
        ๒. ศาลปกครอง (Administrative Courts)
        ๓. ศาลทหาร (Military Courts)
        ๔. ศาลยุติธรรม (Courts of Justice)
แหล่งที่มา:http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1582

รัฐธรรมนูญ 2550 (แบบย่อ)


สรุปกฎหมายรัฐธรรมนูญ 2550
** รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เป็นฉบับที่ 18 ใช้บังคับเมื่อ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 มี 309 มาตรา
**ผู้รับสนองพระบรมราชโองการคือ นาย มีชัย ฤชุพันธุ์ (ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)
**อำนาจอธิไตรเป็นของ ปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุกทรงใช่อำนาจนั้นผ่านทาง รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และ ศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
**องคมนตรีมี ประธาน 1 คน และ องคมนตรีอีก 18 คน
**ผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ประธานองคมนตรี คือ ประธานรัฐสภา
**ผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง องคมนตรี คือ ประธานองคมนตรี
**บุคคลเสมอภาคกันใน กฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายหญิงเท่าเทียมกัน
** บุคคลมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธการจำกำเสรีภาพนั้นจะกระทำไม่ได้เว้นแต่
อาศัยอำนาจตามกฎหมายเฉพาะการชุมนุมสาธารณะและคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ทางสาธารณะหรือรักษาความสงบของประเทศในระหว่างสงครามหรือสถานการฉุกเฉินหรือประกาศกฎอัยการศึก
**บุคคล มีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยรัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
**บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
***รัฐสภาประกอบด้วย
1.สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท
1.1แบบแบ่งเขต 400 คน
1.2แบบสัดส่วน 80 คน
**รวม 480 คน (อายุ25ปี) มีวาระ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง

2 . วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท
2.1 สรรหา 74 คนื -1
2.2 เลือกตั้ง 76 คน +1
**รวม 150 คน (อายุ40ปี) มีวาระ 6 ปีนับแต่เลือกตั้งหรือได้รับการสรรหาแล้วแต่กรณี
**ประธาน สภาผู้แทนราษฎร เป็น ประธานรัฐสภา
**ประธาน วุฒิสภา เป็น รองประธานรัฐสภา
**สมัยประชุมสามัญของรัฐสภามีกำหนด 120 วัน
**อายุสภาหมดตามวาระ ให้กำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันเดียวกันทั่วประเทศในระยะเวลา ไม่เกิน45 วัน

**การยุบสภาจะต้องทำเป็นพระราชกฤษฎีกาและให้กำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันเดียวกันทั่วประเทศ
ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 45 วันแต่ไม่เกิน 60 วัน
** การขอเปิดอภิปราย นายก ต้องมีสมาชิกสภาไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
** การขอเปิดอภิปราย รัฐมนตรี ต้องมีสมาชิกสภาไม่น้อยกว่า 1ใน 6
**ประชาชนไม่น้อยกว่า 10000 มีสทธิเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายแเกี่ยวกับ สทธิเสรีภาพ และ แนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ ต่อสภา ได้
**ประชาชนไม่น้อยกว่า 20000 มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้
**ประชาชนไม่น้อยกว่า 50000 มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อรัฐสภาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ
**คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี 1 คน และ คณะรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 35 คนรวมทั้งสิ้น 36 คน และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี
** คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วย ประธาน 1 คนและกรรมการ 4 คน รวม 5 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี วาระเดียว (อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี) ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
**ผู้ตรวจการแผ่นดิน ประกอบ ด้วย ประธาน1คน และ กรรมการ2คน รวม 3 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี วาระเดียว ประธานวุฒิสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
**คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประกอบด้วย ประธาน1คน และ กรรมการอีก 8 คน รวม 9 คน มีวาระการดำรงตำแห่นง 9 ปี วาระเดียว ประธานวุฒิสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
** คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบด้วย ประธาน 1 คน และ กรรมการอีก 6 คน รวม 7 คน มีว่าระในการดำรงตำแหน่ง 7 ปี วาระเดียว ประธานวุฒิสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
**ศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย ประธาน 1 คน และ ตุลาการอื่นอีก 8 คน รวม 9 คน
มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 9 ปี วาระเดียว ประธานวุฒิสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ดังต่อไปนี้
1 .ผู้พิพากษาศาลฎีกา 3 คน
2. ตุลาการศาลปกครองสูงสุด 2 คน
3. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ 2 คน
4. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ 2 คน
*** รวม 9 คน
แหล่งที่มา:http://www.testthai1.com/read.php?tid=436

24 มิถุนายน 2475 อภิวัฒน์สยาม

<iframe width="420" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/-gzLE0J--GM" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

จุดเด่น-จุดด้อยของรธนปี40


ก่อนที่จะมีการให้ประชาชนออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ใน วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เพื่อเป็นการนำเสนอข้อมูลอีกด้านหนึ่งของร่างรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 ที่ได้จากการรวบรวมความคิดเห็นของนักวิชาการ สื่อมวลชน นักการเมือง รวมทั้งของผู้เขียนเองมาเรียบเรียง โดยนำ จุดเด่นและจุดด้อยของร่างรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 เปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ไว้ดังนี้

จุดเด่น

1. ร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ประชาชนชาวไทยมีโอกาสร่วมกันทำประชามติ ( Referendum) เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศ ย่อมดีกว่าการนำร่างรัฐธรรมนูญ ไปผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาที่แม้ว่าจะมาจากการเลือกตั้ง

2. ร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบบกึ่งรัฐสภาไปเป็นระบบรัฐสภาตามปกติ ทำให้รัฐสภามีความเข้มแข็งขึ้น จากเดิมที่รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ได้เปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองไทยจากระบบรัฐสภาไปเป็นระบบกึ่งรัฐสภาสมัยใหม่ โดยให้ฝ่ายบริหารมีความเข้มแข็งคล้ายกับระบบการปกครองกึ่งประธานาธิบดี

3. ร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และในส่วนของรัฐมนตรีจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ก็ได้ และ แม้ว่าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแต่เดิมก็ไม่ต้องพ้นไปจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีเหมือนรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ซึ่งจะทำให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเห็นความสำคัญของกระบวนการทางรัฐสภา เช่น การตั้งกระทู้ถาม การที่คณะกรรมาธิการสภาจะมีอำนาจเรียกบุคคลมาให้ข้อมูลและชี้แจงต่อฝ่ายสภา ฯลฯ

4. ร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยการศึกษาขั้นปริญญาตรีของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิสมัครเป็นผู้แทนราษฎรได้ย่อมทำให้ร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 นี้มีความเป็นประชาธิปไตยในระดับที่สูงมากกว่ารัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ที่กำหนดให้ประชาชนเพียงบางส่วน (เฉพาะที่สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีเท่านั้น) มีสิทธิสมัครเป็นผู้แทนราษฎร

5. สิทธิเสรีภาพและกระบวนการคุ้มครอง รวมทั้งการบังคับให้เกิดสิทธิเสรีภาพ ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 มีข้อดีมากกว่ารัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ในหลายประการ เช่น สิทธิในการให้ชุมชนฟ้องหน่วยงานของรัฐได้ การให้ประชาชนมีสิทธิฟ้องศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรงเป็นครั้งแรกในกรณีมีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรรมนูญ การให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ถ้าเป็นเด็ก เยาวชน สตรี คนพิการให้ได้รับการคุ้มครองในการดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม

6. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 มีรายละเอียดเป็นจำนวนมากถือว่าเป็นข้อดีมากกว่ารัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 เพราะว่าเป็นการกำหนดเป็นบทบัญญัติให้รัฐบาลต้องระบุให้ชัดเจนในนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาว่าจะดำเนินการใด เวลาใด เพื่อประชาชนบ้าง

7. ระบบตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและองค์กรอิสระตามร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 มีความเข้มข้นของการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐมากว่ารัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ซึ่งรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยที่ได้กำหนดให้มีการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และจัดตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญให้เป็นระบบกึ่งการเมืองและกึ่งศาล เช่น การให้ฝ่ายการเมืองมีบทบาทร่วมในการสรรหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ และมิได้มีข้อกำหนดในเรื่องของวิธีการพิจารณาความต่าง ๆ เอาไว้ ในร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ได้คงหลักการของระบบการตรวจสอบอำนาจรัฐและองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญไว้ทั้งหมด โดยทำให้มีความเป็นศาลในระดับที่สูงมากขึ้น

8. การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน ตามร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 เพิ่มอำนาจทางการเมืองให้ประชาชนมากกว่าในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 โดยในร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550ได้ลดจำนวนการเข้าชื่อของประชาชนในการเสนอกฎหมายเหลือหนึ่งหมื่นคน และการถอดถอนนักการเมืองเหลือสองหมื่นคน การลงประชามติให้มีผลผูกพันการ ตัดสินใจของรัฐบาลด้วย และการให้ประชาชนห้า หมื่นคนสามารถขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้

9. การเพิ่มหมวดการเงิน การคลัง และงบประมาณ เป็นการตรวจสอบการ ใช้อำนาจรัฐด้านการเงิน ร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ได้กำหนดเงื่อนไขการ ใช้เงินของฝ่ายบริหารไว้อย่างชัดเจน ไม่ให้มีการใช้เงินนอกงบประมาณได้อีกต่อไป เพื่อควบคุมการใช้งบประมาณของฝ่ายบริหารจะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาและต้องบอกให้ประชาชนทราบที่มาของงบประมาณ รวมถึงภาระผูกพันในอนาคต ซึ่งในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ไม่มีหมวดนี้

10. การกำหนดให้มีหมวดจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและ เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นครั้งแรกในร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 โดยกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรม มีกลไกและระบบในการดำเนินงานเพื่อให้การบังคับใช้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดขั้นตอนการ ลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำ หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมให้ถือว่าเป็นการกระทำผิดทางวินัย ซึ่งในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ไม่มีหมวดนี้

จุดด้อย

1. ที่มาของสภาร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 มาจากการเลือกตั้งทางอ้อมผ่าน รัฐสภา โดยมาจากตัวแทนในแต่ละจังหวัด 76 คน และจากผู้มีความรู้ด้านกฎหมายมหาชน ด้านรัฐศาสตร์ และผู้มีประสบการณ์ในการบริหารราชการแผ่นดินอีก 23 คน รวม 99 คน ในขณะที่สภาร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 จะมาจากสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ 2,000 คนที่มาจากการแต่งตั้งแล้วเลือกกันเองให้เหลือ 200 คน จากนั้นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จะเลือกให้เหลือ 100 คน

2. ที่มาของรัฐสภา รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งด้วยกันทั้ง 2 สภา ต่างกับร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ซึ่งกำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน แต่วุฒิสภามาจากระบบผสม คือ จากการเลือกตั้ง 76 คน และสรรหา 74 คน ทำให้มองเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 มีความเป็นประชาธิปไตยในระดับที่ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ซึ่งระบบผสมดังกล่าวเป็นระบบใหม่ ฉะนั้นในวันข้างหน้าจึงยังไม่มีความแน่นอนว่าระบบนี้จะอยู่ต่อเนื่องและยาวนานมากเท่าใด

3. เจตนารมณ์ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 มี เจตนารมณ์ที่จะปฏิรูปการเมืองของประเทศไทยให้ดีขึ้น สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้จึงนำหลักวิชาการ หลักกฎหมายมาใช้ในการร่างรัฐธรรมนูญอย่างบริสุทธิ์ใจ ส่วนในร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 มีเจตนารมณ์ในการยกร่างรัฐธรรมนูญที่แตกต่างไป มุ่งแต่ที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดจากนักการเมืองและรัฐบาลชุดที่ผ่านมาจนลืมหลักวิชาการ หลักกฎหมายจึงทำให้ขาดหลักการและเหตุผลในการอ้างอิงจนอาจทำให้เกิดปัญหาในอนาคตตามมา และที่สำคัญคือไม่ไว้วางใจในตัวแทนที่ประชาชนเลือกเข้ามาจึงพยายามกีดกัน ให้ออกไป แต่ดึงฝ่ายตุลาการเข้ามาแทน

4. วุฒิสภาที่มาจากการสรรหาของคณะกรรมการสรรหาวุฒิสภาตามร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 เมื่อ ให้มากลั่นกรองการทำหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนจะขัดแย้งกับหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาที่ให้ความสำคัญกับตัวแทนของประชาชน และหากให้ วุฒิสภามีอำนาจถอดถอนนักการเมืองด้วยแล้วจะไม่ยุติธรรมกับประชาชนที่เลือกผู้แทนของตนเข้ามา แต่กลับถูกวุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนมาถอดถอนได้

5. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ที่ในร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 กำหนดรายละเอียดไว้มาก ทำให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งชุดต่อไปจะมีภารกิจและข้อผูกมัดว่าจะต้องทำอะไรมากมาย จึงทำให้มีความคล่องตัวในการทำงานน้อยกว่ารัฐบาลตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ซึ่งกำหนดให้รัฐบาลสามารถ เลือกที่จะกระทำหรือไม่ก็ได้

6. คณะกรรมการสรรหาบุคคลให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 ได้ตัดตัวแทนของพรรคการเมืองที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ออกหมด ทำให้ขาดความเชื่อมโยงกับประชาชน แม้แต่นักวิชาการก็ไม่มี แต่กลายเป็นประธานศาลทั้งหลาย หรือประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเข้าไปทำหน้าที่สรรหากันเอง ทำให้แนวโน้มที่จะได้บุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระเป็นข้าราชการที่ใกล้เกษียณ โดยตัวแทนภาคประชาชน นักวิชาการไม่มีโอกาสเข้าไปดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญได้เลย

7. การนำเอาฝ่ายตุลาการมายุ่งเกี่ยวกับการเมืองตามร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 จะทำให้ระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ โดยอำนาจ 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการตามหลักการปกครองประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาจะเสียดุลและเอียงข้างฝ่ายตุลาการมากเกินไป โดยฝ่ายที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ กับฝ่ายบริหารถูกลดอำนาจลงไป เมื่อฝ่ายตุลาการมีอำนาจมากขึ้นก็น่าเป็นห่วงว่าอาจถูกการเมืองแทรกแซงและทำให้สูญเสียความน่าเชื่อ

http://library2.parliament.go.th/ebook/content-ebbas/cons_article2.html