วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

รัฐธรรมนูญ 2550 (แบบย่อ)


สรุปกฎหมายรัฐธรรมนูญ 2550
** รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เป็นฉบับที่ 18 ใช้บังคับเมื่อ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 มี 309 มาตรา
**ผู้รับสนองพระบรมราชโองการคือ นาย มีชัย ฤชุพันธุ์ (ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)
**อำนาจอธิไตรเป็นของ ปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุกทรงใช่อำนาจนั้นผ่านทาง รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และ ศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
**องคมนตรีมี ประธาน 1 คน และ องคมนตรีอีก 18 คน
**ผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ประธานองคมนตรี คือ ประธานรัฐสภา
**ผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง องคมนตรี คือ ประธานองคมนตรี
**บุคคลเสมอภาคกันใน กฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายหญิงเท่าเทียมกัน
** บุคคลมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธการจำกำเสรีภาพนั้นจะกระทำไม่ได้เว้นแต่
อาศัยอำนาจตามกฎหมายเฉพาะการชุมนุมสาธารณะและคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ทางสาธารณะหรือรักษาความสงบของประเทศในระหว่างสงครามหรือสถานการฉุกเฉินหรือประกาศกฎอัยการศึก
**บุคคล มีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยรัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
**บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
***รัฐสภาประกอบด้วย
1.สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท
1.1แบบแบ่งเขต 400 คน
1.2แบบสัดส่วน 80 คน
**รวม 480 คน (อายุ25ปี) มีวาระ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง

2 . วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท
2.1 สรรหา 74 คนื -1
2.2 เลือกตั้ง 76 คน +1
**รวม 150 คน (อายุ40ปี) มีวาระ 6 ปีนับแต่เลือกตั้งหรือได้รับการสรรหาแล้วแต่กรณี
**ประธาน สภาผู้แทนราษฎร เป็น ประธานรัฐสภา
**ประธาน วุฒิสภา เป็น รองประธานรัฐสภา
**สมัยประชุมสามัญของรัฐสภามีกำหนด 120 วัน
**อายุสภาหมดตามวาระ ให้กำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันเดียวกันทั่วประเทศในระยะเวลา ไม่เกิน45 วัน

**การยุบสภาจะต้องทำเป็นพระราชกฤษฎีกาและให้กำหนดวันเลือกตั้งเป็นวันเดียวกันทั่วประเทศ
ในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 45 วันแต่ไม่เกิน 60 วัน
** การขอเปิดอภิปราย นายก ต้องมีสมาชิกสภาไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
** การขอเปิดอภิปราย รัฐมนตรี ต้องมีสมาชิกสภาไม่น้อยกว่า 1ใน 6
**ประชาชนไม่น้อยกว่า 10000 มีสทธิเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายแเกี่ยวกับ สทธิเสรีภาพ และ แนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ ต่อสภา ได้
**ประชาชนไม่น้อยกว่า 20000 มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้
**ประชาชนไม่น้อยกว่า 50000 มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อรัฐสภาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ
**คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี 1 คน และ คณะรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 35 คนรวมทั้งสิ้น 36 คน และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี
** คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วย ประธาน 1 คนและกรรมการ 4 คน รวม 5 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 7 ปี วาระเดียว (อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี) ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
**ผู้ตรวจการแผ่นดิน ประกอบ ด้วย ประธาน1คน และ กรรมการ2คน รวม 3 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี วาระเดียว ประธานวุฒิสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
**คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประกอบด้วย ประธาน1คน และ กรรมการอีก 8 คน รวม 9 คน มีวาระการดำรงตำแห่นง 9 ปี วาระเดียว ประธานวุฒิสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
** คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบด้วย ประธาน 1 คน และ กรรมการอีก 6 คน รวม 7 คน มีว่าระในการดำรงตำแหน่ง 7 ปี วาระเดียว ประธานวุฒิสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
**ศาลรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย ประธาน 1 คน และ ตุลาการอื่นอีก 8 คน รวม 9 คน
มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 9 ปี วาระเดียว ประธานวุฒิสภา เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ดังต่อไปนี้
1 .ผู้พิพากษาศาลฎีกา 3 คน
2. ตุลาการศาลปกครองสูงสุด 2 คน
3. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ 2 คน
4. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ 2 คน
*** รวม 9 คน
แหล่งที่มา:http://www.testthai1.com/read.php?tid=436

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น