วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

รัฐธรรมนูญปี40

รัฐธรรมนูญปีพุทธศักราช2540
แนวคิด    
                1. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
                2. อำนาจอธิปไตยแบ่งออกเป็น 3 อำนาจ  คืออำนาจนิติบัญญัติ  อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ 
                ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ซึ่งในรัฐธรรมนูญจะกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการปกครองประเทศไว้ เช่น การดำรงตำแหน่งฐานะประมุขของรัฐ การกำหนดหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ การกำหนดสิทธิหน้าที่ของประชาชน กลไกการบริหารประเทศ
                รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เรียกว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกาศใช้เมื่อวันที่  11  ตุลาคม 2540  มีสาระสำคัญดังนี้
             1. รูปแบบของรัฐ กำหนดว่าประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยวไม่อาจแบ่งแยกเป็นหลายๆ รัฐได้
             2. ระบอบการปกครอง
                ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข   การปกครองแบบประชาธิปไตย หมายความว่า อำนาจอธิปไตย หรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศมาจากปวงชนชาวไทย  พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตย ดังนี้
                1. อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจในการออกกฎหมาย พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา กล่าวคือ การตรากฎหมายออกมาใช้บังคับกับประชาชนต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน
                2. อำนาจบริหาร คือ อำนาจในการบริหารประเทศให้เป็นไปตามนโยบายและกฎหมายพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนี้ทางคณะมนตรี กล่าวคือ พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 35 คน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน
                3. อำนาจตุลากร คือ อำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี หรือติดสินข้อพิพากษาหรือตัดสินลงโทษผู้กระทำความผิด พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจนี้   ทางศาล กล่าวคือ การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นหน้าที่ของศาลอันประกอบด้วยผู้พิพากษา ซึ่งมีอิสระในการใช้ดุลพินิจในการตัดสินคดี และเป็นการดำเนินการในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
3. รัฐสภา
                รัฐสภาประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร บางครั้งแยกกันประชุม แต่งบางครั้งประชุมร่วมกัน ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภาสมาชิกวุฒิสภามีจำนวน 200 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน โดยใช้จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง โดยประชาชนทุกจังหวัดมีสิทธิเสมอกันในการออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในแต่ละจังหวัดได้เพียงหนึ่งคน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี นับตั้งแต่วันเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิส) จำนวน 100 คน และสมาชิกมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 400 คน โดยคำนวณจากจำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนที่มีการเลือกตั้งเฉลี่ยด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 400 คน ซึ่งจะได้เป็นเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคน และจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละจังหวัดให้นำจำนวนราษฎรที่คิดคำนวณข้างต้นมาเฉลี่ยจำนวนราษฎรในจังหวัดนั้น จังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคนให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้หนึ่งคน จังหวัดใดมีราษฎรเกินเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกผู้แทนราษฎรเพิ่มอีกคนทุกจำนวนราษฎรที่ถึงเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกราษฎรหนึ่งคน  เมื่อได้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครบทุกจังหวัดแล้ว แต่ยังไม่ถึง 400 คน จังหวัดใดที่มีเศษที่เหลือจากการคำนวณมากที่สุด ให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนและให้เพิ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามวิธีดังกล่าว แก่จังหวัดที่มีเศษที่เหลือจากการคำนวณในลำดับรองลงมาตามลำดับจนครบจำนวน 400 คน
                    3.1 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งวุฒิสมาชิก และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                            1) มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
                            2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง
                            3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
                    3.2 บุคคลที่ไม่มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                            1) วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนในสมประกอบ
                            2) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
                            3) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
                    3.3 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                            1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
                            2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
                            3) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า เว้นแต่เคยเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสมาชิก
                            4) เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน
                            5) ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง
                                    (1) มีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
                                    (2) เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในจังหวัดนั้น
                                    (3) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
                                    (4) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา
                                    (5) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี
                    3.4 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
                            1) มีสัญชาติไทย
                            2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
                            3) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
                            4) ผู้สมัครเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
                                    (1) มีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
                                    (2) เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในจังหวัดนั้น
                                    (3) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
                                    (4) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา
                                    (5) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี
                    3.5 บุคคลผู้ที่ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                                1) ติดยาเสพติดให้โทษ
                                2) เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นคดี
                                3) ต้องคำพิพากษาให้จำคุกตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป โดยพ้นโทษมายังไม่ถึง 5 ปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
                                4) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ
                                5) เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติ
                                6) เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งเงินเดือนประจำ นอกจากข้าราชาการเมือง
                                7) เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
                                8) เป็นสมาชิกวุฒิสภา
                                9) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
                                10) เป็นกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการสิทธิ-มนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกคอรง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจรติแห่งชาติ หรือกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
                                11) อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
                                12) เคยถูกวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง และยังไม่พ้นกำหนด 5 ปีนับตั้งแต่วันที่วุฒิสภามีมติจนถึงวันเลือกตั้ง
                        3.6 บุคคลที่ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
                                1) เป็นสมาชิกหรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นของพรรคการเมือง
                                2) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว ยังไม่เกิน 1 ปี นับถึงวันสมัครับเลือกตั้ง
                                3) เคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ในอายุของวุฒิสภาคราวก่อนการสมัครรับเลือกตั้ง
                                4) เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
4. สิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของชนชาวไทย
                4.1 สิทธิของประชาชนไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน ได้บัญญัติคุ้มครองสิทธิของชนชาวไทย ไว้ดังนี้
                        1) สิทธิที่จะได้รับความเสมอภาคตามกฎหมาย หมายความว่า ประชาชนชาวไทยทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชายย่อมมีสิทธิเสมอกัน ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายเท่าเทียมกัน
                        2) สิทธิทางการเมือง เช่น สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้ง และสิทธิในการออกเสียงประชามติ เป็นต้น
                        3) สิทธิในทรัพย์สิน และสิทธิในการมีมรดกย่อมได้รับความคุ้มครองขอบเขตแห่งสิทธิและการจำกัดสิทธิย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
                        4) สิทธิในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณหรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายจะกระทำมิได้ การจับกุม คุมขัง ตรวจค้นตัวบุคคล หรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลจะกระทำมิได้ เว้นแต่อาศัยตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
                        5) สิทธิส่วนบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียงหรือความเป็นอยู่ส่วนตัว ย่อมได้รับความคุ้มครอง การกล่าวหรือได้ข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชนอันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวจะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน
                        6) สิทธิในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
                        7) สิทธิในการอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลป วัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                        8) สิทธิในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่ต้องเสียใช้จ่าย ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
                        9) สิทธิในการได้รับความคุ้มครองจากรัฐ คือ เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวมีสิทธิได้รับความคุ้มครองโดยรัฐจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม
                        10) สิทธิในการมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
                        11) สิทธิในการรับทราบข้อมูลข่าสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ รวมทั้งมีสิทธิได้รับข้อมูลคำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานดังกล่าว ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยคุณภาพชีวิต
                        12) สิทธิในการเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ และได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันสมควรตามที่กฎหมายบัญญัติ
                        13) สิทธิในการฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์การอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคลให้รับผิดชอบเนื่องจากการกระทำหรือละเว้นการกระทำของข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานนั้น
                        14) สิทธิในการต่อต้านโดยสันติวิธี ซึงการกระทำใดๆที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งไม่เป็นไปตามวิธีทางที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ
                    4.2 เสรีภาพของประชาชนชาวไทย
                            1) เสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
                            2) เสรีภาพในเคหสถาน
                            3) เสรีภาพในการเดินทางและมีเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในราชอาณาจักร
                            4) เสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
                            5) เสรีภาพในการนับถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา
                            6) เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาและการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น
                            7) เสรีภาพในทางวิชาการ
                            8) เสรีภาพในการเสนอข่าวสารและแสดงความคิดเห็น ภายใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ
                            9) เสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร เป็นต้น
                            10) เสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง
                            11) เสรีภาพในการประกอบกิจกรรมหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
                    4.3 หน้าที่ของประชาชนชาวไทย
                            1) หน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
                            2) หน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
                            3) หน้าที่ป้องกันประเทศ
                            4) หน้าที่รับราชทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ
                            5) หน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
                            6) หน้าที่เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ
                            7) หน้าที่ช่วยเหลือราชการ
                            8) หน้าที่รับการศึกษาอบรมตามที่กฎหมายบัญญัติ
                            9) หน้าที่พิทักษ์ ปกป้องและสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
                            10)หน้าที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แหล่งที่มา:http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Law1/Law-constitution.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น