วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

ศาลรัฐธรรมนูญ


ศาลรัฐธรรมนูญ หมายถึง องค์กรสูงสุดที่มีอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดว่า บทกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือการกระทำใดๆ ทั้งของรัฐและของบุคคล ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่รวมทั้ง อำนาจการวินิจฉัยชี้ขาดว่า ร่างรัฐพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ หรือร่างข้อบังคับการประชุมสภา มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญเป็นทั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และเป็นทั้งศาลที่จะต้องพิจารณาพิพากษาคดีหรือดำเนินการต่างๆ ตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์

ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่งและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีกสิบสี่คนรวมเป็นสิบห้าคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากบุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ตำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาจำนวนห้าคน ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดจำนวนสองคน ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์จำนวนห้าคน และผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์จำนวนสามคน ทั้งหมดได้มาจากการเลือกตั้งโดยวิธีลงคะแนนลับในที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด และคณะกรรมการสรรหาทำการเลือกและเสนอรายชื่อต่อวุฒิสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญดำรงตำแหน่งตามวาระเก้าปี และให้ดำรงตำแหน่งเพียงวาระเดียว องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการนั่งพิจารณาและในการทำคำวินิจฉัยต้องประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่าเก้าคน คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ถือเสียงข้างมากและให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาลและองค์กรอื่นของรัฐ

 อำนาจหน้าที่และความสำคัญของศาลรัฐธรรมนูญตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญสามารถสรุปเป็นข้อๆ ได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า มติหรือข้อบังคับใดของพรรคการเมืองขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข หรือขัดต่อสถานะและการปฎิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าขัด มติหรือข้อบังคับนั้น เป็นอันยกเลิกไป (ตามมาตรา 47)
ข้อ 2. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำ หรือสั่งยุบพรรคการเมือง ที่มีการกระทำอันเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (ตามมาตรา 63)
ข้อ 3. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า สมาชิกสภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาต้องสิ้นสุดลง เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 118 หรือมาตรา 133 หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าสิ้นสุด ก็จะมีผลนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย (ตามมาตรา 96 และมาตรา 97)

ข้อ 4. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาต้องสิ้นสุดลงเมื่อได้กระทำการอันต้องห้าม ตามมาตรา 110หรือ มาตาร 111 กล่าวคือ ดำรงตำแหน่งในหน่วยราชการหรือหน่วยงานของรัฐ รับสัปทานจากรัฐรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ จากหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานของรัฐ หรือใช้สถานะหรือตำแหน่งเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงการบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้ายข้าราชการประจำ หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่า สิ้นสุด ก็จะมีผลนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย (ตามมาตรา 96 และ มาตรา 97)
ข้อ 5. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยว่า มติของพรรคการเมืองใดที่ให้ขับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัด พ้นจากสมาชิกภาพของพรรค มีลักษณะตามมาตรา 47 วรรคสาม คือ ขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือขัดต่อสถานะการปฎิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยวขัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ถูกขับสามารถหาพรรคใหม่สังกัดภายในสามสิบวัน โดยไม่สิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย (ตามมาตรา 118(8) )
ข้อ 6. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบ สามารถหาพรรคใหม่สังกัดได้ภายในสามสิบวัน โดยไม่สิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ตามมาตรา 118(9) )
ข้อ 7. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า กรรมการการเลือกตั้งผู้ใด ที่ถูกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภา ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 139 หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าพ้น ก็จะมีผลนับแต่วันที่ศาลรัฐัรรมนูญมีคำวินิจฉัย (ตามมาตรา 142)
ข้อ 8. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า ความเป็นประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา ต้องสิ้นสุดลง เนื่องจากขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 152 วรรคสาม (4) เมื่อ ต้องคำพิพากษาให้จำคุก หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าสิ้นสุด ก็จะมีผลนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย
ข้อ 9. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ มีหลักการเดียวกันกับร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมี่วุฒิสภามีมติยับยั้งไว้ หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่ามีหลักการเดียวกันจะเสนอร่างนั้นเข้ามาใหม่ไม่ได้ (ตามมาตรา 177)
ข้อ 10. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยว่า การกระทำใดของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการ มีส่วนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยออ้ม ในการใช้งบประมาณรายจ่าย หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าลักษณะดังกล่าวก็ให้การกระทำดังกล่าวสิ้นผลไป (ตามมาตรา 180 วรรคหกและวรรคเจ็ด)
ข้อ 11. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยกรณีที่ผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภาเห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ หรือการกระทำใดของบุคคล มีปัญหาเกี่ยวกับความเห็นชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือไม่ (ตามมาตรา 198)
ข้อ 12. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีต้องสิ้นสุดลงเนื่องจากขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 216 (4) เมื่อต้องคำพิพากษาให้จำคุก หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าสิ้นสุด ก็จะมีผลนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย
ข้อ 13. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยว่า พระราชกำหนดใดเป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงและเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเหลี่ยงได้ ตามมาตรา 218 วรรคหนึ่ง หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าไม่เป็น ให้พระราชกำหนดนั้นไม่มีผลบังคับมาแต่ต้น (ตามมาตรา 219)
ข้อ 14. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยว่า ความเป็นประธานศาลรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องสิ้นสุดลง เนื่องจากขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 260 (7) เมื่อต้องคำพิพากษาให้จำคุก หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าสิ้นสุด ก็จะมีผลนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ข้อ 15. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติใดที่สภาให้ความเห็นชอบแล้ว มีข้อความขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรั ฐธรรมนูญนี้ หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าขัดหรือไม่ถูกต้อง และข้อความดังกล่าวเป็นสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ ให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นตกไปทั้งบับ แต่ถ้าไม่ใช่สาระสำคัญ ก็ตกไปเฉพาะข้อความที่ขัดหรือแย้งนั้น (ตามมาตรา 262)
ข้อ 16. ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจวินิจฉัยว่า ร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือการประชุมวุฒิสภา และการประชุมรัฐสภาที่สภาให้ความเห็นชอบแล้ว ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกติ้งตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าขัด ก็เป็นอันใช้บังคับมิได้(ตามมาตรา 263)
ข้อ 17. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีใดต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 คือ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่าขัด บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นก็เป็นอันใช้บังคับมิได้ (ตามมาตรา 264 )
ข้อ 18. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัย กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาขหน้าที่ขององค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญว่าเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรใด ตามที่องค์กรนั้นหรือประธานรัฐสภาเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ (ตามมาตรา 266 )
ข้อ 19. คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ให้เป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ (ตามมาตรา 266 )
ข้อ 20. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจชี้ขาดว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใดจงใจไม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินด้วยข้อความเป็นเท็จ หรือจงใจปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติหรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยชี้ขาดว่า จงใจ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่งและห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นเวลาห้าปี (ตามมาตรา 295 )
ข้อ 21. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยว่า ความเป็นประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต้องสิ้นสุดลงเนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 298 วรรคสาม เมื่อ ต้องคำพิพากษาให้จำคุก หรือไม่ ถ้าหากวินิจฉัยว่า สิ้นสุด ก็จะมีผลนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย



 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ


แหล่งที่มา:http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น